กฎของอุปทาน คือ กฎที่อธิบายถึงธรรมชาติของอุปทาน หรือ Supply โดย Law of Supply หรือ กฎของอุปทาน อธิบายว่า Supply หรือความต้องการขายสินค้าของผู้ขายจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับราคา (Price) กล่าวคือ ยิ่งสินค้าราคายิ่งสูงความต้องการขายของผู้ขายยิ่งสูงขึ้นตาม ในทางกลับกันยิ่งราคาของสินค้าลดต่ำลง ความต้องการขายของผู้ขายก็จะลดลงตาม
โดย Law of Supply หรือ กฎของอุปทานจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคา (Price) ที่มีผลต่อความต้องการขายสินค้าหรือ Supply ดังนี้:
- ราคาเพิ่มขึ้น ความต้องการขายเพิ่ม (Supply เพิ่ม)
- ราคาลดลง ความต้องการขายลดลง (Supply ลด)
ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคากับความต้องการขาย (Price กับ Supply) ของกฎของอุปทาน หรือ Law of Supply เราจะเรียกว่า ความสัมพันธ์ที่เป็นไปทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับความต้องการขายจะไม่เพิ่มตามราคาสินค้า ขัดกับกฎของอุปทาน หรือ Law of Supply คือ สินค้าประเภทที่ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้และสินค้าที่มีอยู่อย่างจำกัดที่ไม่ว่าผู้ขายต้องการขายมากเท่าไหร่ก็ไม่สามารถผลิตหรือหามาเพิ่มได้
ตัวอย่างเช่น วัตถุโบราณที่มีอยู่แบบเดียวชิ้นเดียว เป็นต้น
กราฟ Law of Supply หรือ กราฟกฎของอุปทาน
โดย Law of Supply หรือ กฎของอุปทาน สามารถเขียนเป็นกราฟได้ตามภาพด้านล่าง
- แกนตั้งคือ Price หรือระดับราคาของสินค้า
- แกนนอนคือ Quantity หรือปริมาณความต้องการขายสินค้า (ปริมาณ Supply)

จากกราฟจะเห็นว่า เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจากจุด P2 ไป P1 (ด้วยเหตุผลบางอย่าง) ปริมาณความต้องการขายสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นตามจาก Q2 ไป Q1 เช่นกัน (ฟ้าไปแดง)
และในทางกลับกัน เมื่อระดับราคาสินค้าลดลงจากจุด P1 เหลือจุด P2 ปริมาณความต้องการขายสินค้าของผู้ขายก็จะลดลงตามจากจุด Q1 เหลือ Q2
โดยเราจะเรียกการที่ความต้องการขาย หรือ อุปทาน หรือ Supply เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะราคา
ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันตามกฎของอุปทานหรือเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามขัดกับกฎของอุปทาน ทั้งหมดนี้เรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา (Price Elasticity of Supply)