กลยุทธ์ระดับหน้าที่ คือ กลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละแผนกขององค์กรที่มีหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนงาน ซึ่งกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) ถือเป็นกลยุทธ์ในระดับที่แคบที่สุดจาก 3 ระดับกลยุทธ์
เนื่องจาก กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) ในแต่ละหน้าที่ก็จะแยกกันทำตามแต่ละหน้าที่ที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบ ซึ่งแต่ละหน้าที่จะมีสิ่งที่ต้องทำแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างเช่น แผนกการตลาดมีแผนแนะนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด ดังนั้น แผนกการตลาดก็จะหาทางแนะนำสินค้าให้ผู้บริโภครู้จักด้วยกลยุทธ์บางอย่าง อย่างการใช้การจัดโปรโมชั่นในลักษณะของ Sale Promotion ลดแลกแจกแถม
ซึ่งกลยุทธ์ที่แผนกการตลาดในตัวอย่างได้เลือกใช้ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “กลยุทธ์ระดับหน้าที่ หรือ Functional Strategy” ที่กำลังพูดถึง
กลยุทธ์ระดับหน้าที่ มีอะไรบ้าง
กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) ถ้าหากยึดตามแนวคิด Value Chain ของ Micheal E. Porter จะมีอยู่ 9 หน้าที่ ได้แก่
Logistics คือ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา และกระจายสินค้า ประกอบด้วย Logistics ขาเข้า และ Logistics ขาออก รวมไปถึงเรื่องของ Supply Chain
Procurement คือ แผนกจัดซื้อ โดยทำหน้าที่จัดซื้อสิ่งที่บริษัทต้องซื้อ เช่น วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า ทำหน้าที่จัดซื้อและอาจรวมไปถึงการจัดหาในกรณีที่ในบางบริษัทรวมไว้เป็นแผนกเดียวกัน
Operations คือ หน้าที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า
Marketing and Sales ทำหน้าหน้าที่ศึกษาตลาด วางกลยุทธ์ และวางแผนอื่น ๆ เกี่ยวกับตลาด รวมถึงทำหน้าที่ขายสินค้าหรือทำยังไงให้สินค้าขายออก (บางบริษัทอาจจะแยก Sales ออกจากแผนก Marketing
Service ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบริการลูกค้า อย่างเช่นการบริการหลังการขาย (ในบางกรณีอาจจะไม่มีส่วนนี้อยู่ในบริษัทเนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้)
Research and Development หรือ R&D ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาสินค้าที่มีอยู่ เช่น พัฒนาวิธีผลิตให้ต้นทุนต่ำลง คิดและทดลองสินค้าแบบใหม่ ๆ (ในบางบริษัทไม่มีส่วนนี้)
Human Resource Management คือ หน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับคนในองค์กร ตั้งแต่หาพนักงาน ให้เงินเดือน ไปจนไล่พนักงานออก
Accounting จัดการเกี่ยวกับเรื่องของการทำบัญชี งบการเงิน ใบเสร็จ ภาษี เบิกเงิน จ่ายเงิน จัดการเกี่ยวกับเรื่องเงินอื่น ๆ
Finance จะจัดการเกี่ยวกับการบริหารเงินทุน จัดหาเงินทุนของบริษัท (ไม่ได้ยุ่งกับเงินตรง ๆ เหมือนบัญชี)
จากทั้ง 9 หน้าที่จะเห็นว่าแต่ละหน้าที่ทำงานที่ต่างกัน ดังนั้นกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) ก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละส่วนเจอกับปัญหาอะไร และจะใช้วิธีการหรือกลยุทธ์อะไรมาจัดการกับปัญหา
ซึ่งวิธีการที่จะนำแต่ละ Functional Strategy มาใช้จัดการกับปัญหาก็คือสิ่งที่หลายคนที่เรียนคณะบริหารและคณะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารได้เรียนมานั่นเอง