กลยุทธ์ Differentiation คือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง เป็นหนึ่งในกลยุทธ์จาก Porter Generic Strategies ของ Micheal E. Porter จาก Harvard Business School โดยกลยุทธ์ Differentiation จะเน้นการสร้างความแตกต่างให้สินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการที่สินค้าหรือบริการมีความแตกต่างไม่เหมือนใคร
ประโยชน์ของ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง หรือ Differentiation Strategy คือ การมีคู่แข่งที่น้อยโดยเฉพาะกับสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีใครเหมือน และการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ที่ทำให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่าสินค้าอื่นที่คล้ายกันได้ (เพราะไม่มีสินค้าอื่นที่สามารถทดแทนได้) ส่งผลให้สินค้ามีกำไรต่อหน่วยที่สูง
นอกจากนี้ ด้วยความที่สินค้ามีราคาสูงจากมูลค่าเพิ่มได้จากความแตกต่าง ทำให้อีกหนึ่งข้อดีของสินค้าหรือบริการที่ใช้ กลยุทธ์ Differentiation มักจะไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนการผลิตและสามารถใส่ใจเรื่องคุณภาพสูงสุดได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากได้ต้นทุนต่อหน่วยที่สูงมาทดแทน
นอกจากนี้ กลยุทธ์ Differentiation หรือ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ก็ไม่ได้จำกัดว่าจะขายสินค้าให้กับ Mass Market หรือ Niche Market อย่างใดอย่างหนึ่งแต่จะขึ้นอยู่กับสินค้านั้น และในบางกรณีอาจจะขายให้กับทั้ง 2 กลุ่ม โดยในระยะแรกขายให้กับลูกค้าเฉพาะทางก่อน เมื่อสินค้าเริ่มเก่าหรือไม่ได้รับความนิยมจึงเริ่มขายให้กับ Mass Market
วิธีสร้างความแตกต่าง (Differentiation)
วิธีสร้างความแตกต่าง ในกลยุทธ์ Differentiation Strategy ไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวว่าทำอย่างไรได้บ้าง เพราะนี่คือ “การสร้างความแตกต่าง” ตามความหมาย Differentiation Strategy
แต่สำหรับใครที่กำลังหาไอเดียเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าด้วยการใช้ กลยุทธ์ Differentiation เพื่อสร้างความแตกต่าง เราสามารถแบ่งลักษณะของความแตกต่างออกเป็น 4 หมวดหมู่ง่ายๆ ดังนี้
- การสร้างนวัตกรรม (Innovation)
- สินค้าทนทานกว่า (Durable)
- สินค้าที่คุณภาพสูงกว่าสินค้าที่มีในท้องตลาด (High Quality)
- สินค้าที่มีภาพลักษณ์ที่ดี (Image)
นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม (Innovation) คือ พื้นฐานที่สุดของกลยุทธ์ Differentiation เพื่อการสร้างความแตกต่าง เป็นการทำสิ่งที่ยังไม่มีใครทำและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยโจทย์ของนวัตกรรม (Innovation) คือการแก้ไขปัญหาบางอย่างให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังไม่เคยถูกแก้ไขมาก่อน
โดยนวัตกรรมอาจเป็นการแก้ไขปัญหาง่ายๆ อย่างเช่น ปัญหาการจดโน๊ตที่เป็นที่มาของกระดาษโพสอิทที่เป็นเพียงกระดาษสีที่มีกาวสำหรับจดโน๊ตแล้วแปะกับอะไรก็ได้
สินค้าทนทานกว่า (Durable)
สินค้าทนทานกว่า (Durable) ในที่นี้อาจเป็นสินค้าที่ใช้หมดช้ากว่าหรือใช้ได้ทนทานกว่าสินค้าแบรนด์อื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาดอยู่แล้วก็ได้
ตัวอย่างเช่น ปากกาลบคำผิดที่สามารถใช้ได้นานกว่า สบู่ก้อนที่ใช้ได้นานกว่า และรองเท้าส้นสูงที่ส้นไม่หักง่าย เป็นต้น
คุณภาพสูงกว่า (High Quality)
การผลิตสินค้าคุณภาพสูงกว่า (High Quality) เมื่อเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกันที่มีอยู่แล้วในตลาด ก็นับว่าเป็นการสร้างความแตกต่าง ซึ่งอาจจะตั้งราคาสินค้าเอาไว้แพงกว่าเล็กน้อยเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อในอีกระดับหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น แผ่นฟิล์มถนอมอาหารแบบพิเศษที่ใช้พลาสติกที่ปลอดภัยต่อมะเร็งมากกว่า แต่แพงกว่าฟิล์มถนอมอาหารยี่ห้ออื่นที่ไม่ได้รับประกัน 10-20 บาท
ภาพลักษณ์ที่ดี (Image)
ภาพลักษณ์ที่ดี (Image) คือ การสร้างความแตกต่างโดยการเน้นขายภาพลักษณ์สินค้าที่ดูดีกว่าสินค้าเดียวกันของแบรนด์อื่น โดยส่วนมากจะเป็นสินค้า Luxury ที่ลูกค้าใช้เพื่อแสดงถึงรสนิยมหรือสถานะทางสังคมของผู้ใช้
ตัวอย่างเช่น รถหรู รถสปอร์ต นาฬิกาแบรนด์เนม สูทสั่งตัดแบรนด์ดัง และรองเท้าราคาแพง เป็นต้น

เมื่อพูดถึง กลยุทธ์ Differentiation ตัวอย่างที่มีครบทุกความแตกต่างที่เราอธิบายเอาไว้ในบทความนี้คือ Supercar ที่เป็นสินค้าที่นอกจากจะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว ลูกค้ายังสามารถเลือก Custom ให้มีความแตกต่างเพิ่มเติมได้ตั้งแต่สี ล้อแม็กซ์ พวงมาลัย วัสดุที่ใช้ทำคอนโซล สีภายในรถ สีเบาะ ไปจนถึงสีของด้ายที่ใช้ในการตกแต่งภายใน