EPS คือ Earnings Per Share หรืออัตราส่วนกำไรต่อหุ้น เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เกิดจากการเทียบระหว่างกำไรต่อจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยค่า EPS หรือ Earnings Per Share คือ ตัวเลขที่จะทำให้เห็นว่าบริษัทมีมูลค่ากำไรคิดเป็นเท่าไหร่ต่อหุ้น 1 หุ้น
โดยการคำนวณหาค่า Earnings Per Share หรือ EPS คือ การนำกำไรสุทธิของบริษัทหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญ ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็นอัตราส่วนกำไร X หน่วยต่อหุ้น (อย่างเช่น กำไร 10 บาทต่อหุ้น)
สำหรับประโยชน์ของอัตราส่วนกำไรต่อหุ้น EPS หรือ Earnings Per Share คือ การใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นว่ากำไรของบริษัทมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ (เทียบกับทุน) และบอกว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ต่อ 1 หุ้น
วิธีหาค่า EPS หุ้น
วิธีคำนวณหา Earning Per Share หรือ EPS สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการนำกำไรสุทธิของบริษัท (Net Profit) หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้ว หรือเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ กำไรต่อหุ้น หรือ EPS = กำไรสุทธิ ÷ จำนวนหุ้นสามัญ
โดยค่า EPS หรือกำไรต่อหุ้นจะมีหน่วยเป็นสกุลเงินตามสกุลเงินของกำไรสุทธิที่ระบุอยู่ในงบกำไรขาดทุนต่อหุ้น (สำหรับประเทศไทยก็คือ บาทต่อหุ้น)
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่รู้จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท อาจหาได้จาก จำนวนหุ้นทั้งหมด = มูลค่ารวมของหุ้นในตลาด ณ เวลานั้น (Market Cap) ÷ ราคาหุ้น ณ เวลานั้น
ตัวอย่างการหา Earnings Per Share
สมมติว่า บริษัท A มีกำไรสุทธิ 10,000 บาท และมีจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด 1,000 หุ้น และบริษัท B มีกำไรสุทธิ 20,000 บาท และมีจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด 3,000 หุ้น โดยทั้ง 2 บริษัทเป็นธนาคาร ซึ่งค่าเฉลี่ย EPS ของธุรกิจธนาคารคือ 20 บาทต่อหุ้น
บริษัท A กำไรต่อหุ้น หรือ EPS = 10,000 ÷ 1,000 ดังนั้น กำไรต่อหุ้นของ บริษัทที่ A หรือค่า EPS คือ 10 บาท ต่อหุ้น
บริษัท B กำไรต่อหุ้น หรือ EPS = 20,000 ÷ 3,000 ดังนั้น กำไรต่อหุ้นของ บริษัทที่ B หรือค่า EPS คือ 6.67 บาท ต่อหุ้น
EPS หุ้นบอกอะไร
ในเบื้องต้น Earnings Per Share หรือ EPS คือ ค่าที่ควรมีค่าที่สูงและยิ่งสูงยิ่งดี เพราะค่า EPS ที่สูงคือสิ่งที่หมายความว่ากำไรต่อหุ้นยิ่งสูงตาม หรือ 1 หุ้นได้ผลตอบแทนมากกว่า แต่ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า กำไรต่อหุ้น หรือ EPS ที่สูงหรือต่ำนั้นดีหรือไม่ดี
เนื่องจากค่า EPS ที่สูงก็อาจเกิดจากการที่ใช้ต้นทุนสูงกว่าก็ได้ (ทำให้กำไรสูงตาม) ทำให้ในการวิเคราะห์งบการเงินจึงไม่สามารถใช้ Earnings Per Share หรือ EPS เพียงอย่างเดียวในการวิเคราะห์ได้
ในการวิเคราะห์อัตราส่วนกำไรต่อหุ้นหรือ EPS ที่ได้จะถูกนำไปใช้เทียบกับค่า EPS ของบริษัทคู่แข่ง บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน และค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าค่า EPS หรือ กำไรต่อหุ้น ของบริษัท A มีค่ามากกว่า แต่เมื่อถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าบริษัท B มีกำไรที่สูงกว่า เพียงแต่บริษัท B มีกำไรต่อหุ้นต่ำกว่า เพราะบริษัท B มีจำนวนหุ้นมากกว่า
นอกจากนี้ ในทางกลับกันถ้าบริษัทขาดทุน กำไรต่อหุ้นก็จะกลายเป็น ผลขาดทุนต่อหุ้น (Loss Per Share หรือ LPS)