ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ คือ อัตราความเปลี่ยนแปลงของ ความต้องการซื้อสินค้า หรือ Demand เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อสินค้า อย่างเช่น ราคาสินค้า หรือ รายได้ของผู้บริโภค เกิดการเปลี่ยนแปลง
หรือพูดให้ง่ายกว่านั้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ คือ เปอร์เซ็นต์ที่บอกว่า ถ้าปัจจัยที่ผลกับความต้องการสินค้าเปลี่ยนไป อย่างเช่น ราคาสินค้าเปลี่ยนไป จะทำให้ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือ (Demand) เปลี่ยนไปกี่เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างเช่น ราคาของน้ำมัน (Price) มีผลต่อปริมาณความต้องการซื้อน้ำมัน ดังนั้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาน้ำมัน คือการหาว่าถ้าหากราคาของน้ำมันเปลี่ยนแปลงไป x% ความต้องการเติมน้ำมันของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่ %
โดยรูปแบบของ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) จะมีอยู่หลากหลายรูปแบบ และมีตัวแปรในการ คำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) ที่แตกต่างกันออกไป
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ มีอะไรบ้าง
เรียกได้ว่าอะไรก็ตามที่ส่งผลต่อ “ความต้องการ หรือ Demand” ก็สามารถนำมา หาความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ตัวอย่างเช่น
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand)
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์แบบไขว้ (Cross Price Elasticity of Demand)
- ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อการโฆษณา (Advertising Elasticity of Demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ แต่ละรูปแบบจะเป็นการเปรียบเทียบกับปัจจัยในชื่อ อย่างเช่น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ก็จะเทียบกับระดับราคาสินค้าตามตัวอย่างด้านบน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ ก็จะเป็นการเปรียบเทียบกับรายได้ของผู้บริโภค (เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น ความต้องการของสินค้าบางอย่างจะเพิ่มขึ้นหรือไม่)
สำหรับรูปแบบของ ความยืดหยุ่นอุปสงค์ (Elasticity of Demand) ที่พบได้บ่อย คือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) และ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand) ที่มักจะนำมาใช้ประเมินแนวโน้มทางเศรษฐกิจและนำไปใช้ในการตั้งราคาสินค้า
ประเภทของ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
สิ่งที่แยกประเภทของ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการ คำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ อ่านวิธี คำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์แต่ละประเภทได้ที่
จากผลลัพธ์จะแบ่ง ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่น (Perfectly Inelastic Demand) Ed = 0
- อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย (Inelastic Demand) ค่า Ed < 1
- อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมาก (Elastic Demand) ค่า Ed > 1
- อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นคงที่ (Unitary Demand) ค่า Ed = 1
- อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ (Perfectly Elasticity Demand) Ed = ∞
อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่น
อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่น (Perfectly Inelastic Demand) คือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ประเภทที่ Demand หรือ ความต้องการซื้อ จะไม่เปลี่ยนแปลง ตามปัจจัยที่ควรจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าราคาสินค้าจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยแค่ไหน ความต้องการของสินค้าก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย (Inelastic Demand) คือ การที่เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์เปลี่ยนไป 1% ปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) จะเปลี่ยนแปลงตาม แต่จะเปลี่ยนแปลงต่ำกว่า 1%
ตัวอย่างเช่น เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าหรือ Demand จะเปลี่ยนไปเพียง 0.3%
สำหรับสินค้าที่มี ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ในลักษณะของ อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย หรือ Inelastic Demand สินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันหรือสินค้าที่คนต้องใช้ (แต่อาจหันไปใช้ยี่ห้ออื่นแทนได้) อย่างเช่น น้ำดื่ม ข้าวสาร
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมาก
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมาก (Elastic Demand) คือ การที่เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์เปลี่ยนไป 1% ปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) จะเปลี่ยนแปลงมากกว่า 1%
ตัวอย่างเช่น เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป 1% ความต้องการซื้อสินค้าหรือ Demand จะเปลี่ยนไป 2%
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นคงที่
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นคงที่ (Unitary Demand) คือ เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์เปลี่ยนไป 1% ปริมาณความต้องการซื้อจะเปลี่ยนแปลง 1% เช่นกัน หรือพูดง่าย ๆ คือเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ตัวอย่างเช่น เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป 5% ปริมาณความต้องการซื้อจะเปลี่ยนแปลง 5% เช่นกัน
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นสมบูรณ์
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ (Perfectly Elasticity Demand) คือ เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อยู่ที่จุดจุดหนึ่ง ความต้องการซื้อ (Demand) จะสูงมาก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ปัจจัยดังกล่าวเกิดความเปลี่ยนแปลง ความต้องการซื้อ (Demand) จะไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น เมื่ออยู่ที่ระดับราคาหนึ่งระดับความต้องการสินค้าจะสูงมาก แต่ถ้าหากว่าราคาสินค้าเปลี่ยนไป ความต้องการซื้อจะไม่เกิดขึ้น