ค่าความแปรปรวน คือ ค่าที่ใช้วัดการกระจายตัวของข้อมูล โดยสามารถหาค่าความแปรปรวนจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน คือ ค่าที่คำนวณมาจาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ยกกำลัง 2
ค่าความแปรปรวนประชากร คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร ยกกำลัง 2
ค่าความแปรปรวนกลุ่มตัวอย่าง คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานกลุ่มตัวอย่าง ยกกำลัง 2
ดังนั้น การจะหาค่าความแปรปรวนได้ ก็ต้องรู้ส่วนเบี่ยงเบนมตารฐานก่อนนั่นเอง (ซึ่งตามปกติแล้วก็ต้องหาก่อนอยู่แล้ว)
โดยสัญลักษณ์ของค่าความแปรปรวนทั้ง 2 แบบ ก็จะเหมือนกับสัญลักษณ์ค่าเบี่ยงเบนมารตรฐาน แต่ยกกำลัง 2
- ค่าความแปรปรวนประชากร คือ σ2
- ค่าความแปรปรวนกลุ่มตัวอย่าง คือ S.D.2
ซึ่งจะเปลี่ยนหน่วยไปตามหน่วยของข้อมูลที่นำมาคำนวณ เช่น เซนติเมตร กำลัง 2
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาจากไหน?
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของ ประชากร และ กลุ่มตัวอย่าง แบบละเอียดได้ที่บทความทั้ง 2 บทความด้านล่าง
วิธีหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร หรือ σ
วิธีหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานกลุ่มตัวอย่าง หรือ S.D.