GreedisGoods » Accounting » ค่าตัดจำหน่าย คืออะไร? (Amortization)

ค่าตัดจำหน่าย คืออะไร? (Amortization)

by Kris Piroj
ค่าตัดจำหน่าย คือ Amortization ค่าเสื่อมราคา สินทรัพย์ไม่มีตัวตน บัญชี

ค่าตัดจำหน่าย คืออะไร?

ค่าตัดจำหน่าย คือ จัดสรรต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อย่างเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค่าความนิยม และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ โดยการแบ่งการหักค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนออกเป็นหลายส่วน แล้วนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีไปจนครบมูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าว

โดยค่าตัดจำหน่าย (Amortization) จะบันทึกบัญชีโดยแบ่งค่าตัดจำหน่ายออกเป็นส่วน และลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามที่ได้หารไปจนกว่าจะครบมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าว ในลักษณะเดียวกันกับค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร แทนที่จะหักค่าใช้จ่ายนั้นในปีเดียว

กล่าวคือ ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) เป็นค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) อย่างลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิบัตรนั่นเอง ซึ่งมีรายละเอียดเหมือนกับค่าตัดจำหน่ายทุกอย่าง

สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สามารถใช้ค่าตัดจำหน่ายในการบันทึกบัญชีได้ ได้แก่ สิทธิบัตร (Patent), ลิขสิทธิ์ (Copyrights), สิทธิการเช่า (Leasehold), สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Franchises and Licening), เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า (Trademark and Tradename), และค่าความนิยม (Goodwill)

ตัวอย่าง ค่าตัดจำหน่าย (Amortization)

ตัวอย่างเช่น บริษัท GreedisGoods ซื้อลิขสิทธิ์เพลงมูลค่า 1 ล้านบาท และสมมติว่าบริษัท GreedisGoods มีรายได้ในปีเดียวกับปีที่ซื้อลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวทั้งสิ้น 1 ล้านบาท

ในกรณีทีไม่มีค่าตัดจำหน่าย (Amortization) หมายว่าว่าบริษัท GreedisGoods จะต้องนำค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมด 1 ล้านบาทไปหักค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ส่งผลให้ในทางบัญชีบริษัท GreedisGoods เมื่อนำรายได้ 1 ล้านบาทหักด้วยค่าใช้จ่าย 1 ล้านบาท ก็จะมีกำไร 0 บาท

ซึ่งในความเป็นลิขสิทธิ์เพลงที่ซื้อมาไม่ได้ถูกใช้จนเต็มราคาภายในปีเดียว ทำให้ต้องมีการหักค่าใช้จ่ายด้วยการใช้ค่าตัดจำหน่ายขึ้นมาแทนการหักทั้งจำนวนในปีเดียว

ในกรณีที่มีค่าตัดจำหน่าย

ในกรณีที่มีการหักค่าตัดจำหน่าย จะเป็นการแบ่งการหักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีต่าง ๆ จนครบมูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าว

จากตัวอย่างเดิม ถ้าใช้การหักค่าใช้จ่ายด้วยค่าตัดจำหน่าย (Amortization) ค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 5 ปี

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในบัญชีของบริษัท GreedisGoods ในปีนี้คือ 1 ใน 5 ของราคาสิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวหรือ 200,000 บาทต่อปี และจะหักค่าใช้จ่ายได้ครบมูลค่าของลิขสิทธิ์ดังกล่าวในสิ้นปีที่ 5

หรือในทางกลับกันเมื่อถึงสิ้นปีในแต่ละรอบบัญชี มูลค่าของลิขสิทธิ์เพลงในทางบัญชีจะลดลง 200,000 บาทต่อปี ดังนี้

  • ปีแรกซื้อมาในราคา 1 ล้านบาท
  • สิ้นปีแรก เหลือมูลค่า 1,000,000 – 200,000 = 800,000
  • สิ้นปีที่ 2 เหลือมูลค่า 800,000 – 200,000 = 600,000
  • สิ้นปีที่ 3 เหลือมูลค่า 600,000 – 200,000 = 400,000
  • สิ้นปีที่ 4 เหลือมูลค่า 400,000 – 200,000 = 200,000
  • สิ้นปีที่ 5 เหลือมูลค่า 200,000 – 200,000 = 0

สรุป ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คือค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expense) ของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน อย่างเช่น ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร

ในขณะที่ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) จะเป็นเรื่องของสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ (และมักจะพบได้บ่อยกว่า) อย่างเช่น อาคาร เครื่องจักร และที่ดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด