ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นตามมาเมื่อเราเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วทำให้เราไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งได้ พูดได้ว่าค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุนของการเลือก เพราะการเลือกทำสิ่งหนึ่งหมายความว่าจะไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งไปพร้อมกันได้จากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด
ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่องหรือทำได้หลายเรื่องพร้อมกัน
ตัวอย่าง ต้นทุนค่าเสียโอกาส แบบง่ายๆ คือการที่คุณมีเงิน 1 ล้านบาทสำหรับการลงทุน การที่คุณใช้เงินทั้งหมดซื้อหุ้น A ก็จะเสียโอกาสใช้เงินในการซื้อหุ้นอื่น แต่ถ้าใช้เงิน 1 ล้านซื้อหุ้นอื่น ก็จะไม่สามารถซื้อหุ้น A ได้
แต่ถ้าหากแบ่งเงินไปซื้อทั้งหุ้น A และหุ้น B ก็จะทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการที่ไม่สามารถทำกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากหุ้นใดหุ้นหนึ่ง
อีกตัวอย่างง่ายๆ ของ Opportunity Cost หรือ ค่าเสียโอกาส คือ การที่ต้องเลือกระหว่างอ่านหนังสือ หรือ เล่นเกมในระหว่างช่วงสอบ การเล่นเกมก็จะทำให้เสียโอกาสอ่านหนังสือ และการอ่านหนังสือก็จะทำให้เสียโอกาสเล่นเกม
ประโยชน์ของการทำความเข้าใจกับ ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ใช้สำหรับการประเมินทางเลือกในการลงทุนบางอย่างเมื่อคุณมีทรัพยากรอยู่จำกัดไม่สามารถทำทุกอย่างได้
นอกจากนี้ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) นี่เองก็คือที่มาของการของการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา เพราะเราจะไม่เสียเวลาปลูกผักทั้งวันทั้งที่ไม่ถนัดและได้ผลผลิตน้อยกว่าคนที่ถนัด ในขณะที่คุณสามารถทำอย่างอื่นแล้วได้ผลผลิตมากกว่า
เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
ประเภทต้นทุนค่าเสียโอกาส
ประเภทของ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Costs) และ ต้นทุนแฝง (Implicit Costs)
ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Costs) คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นต้นทุนที่อยู่ในรูปของตัวเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นผลมาจากการชำระเงินค่าปัจจัยการผลิต การเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้เงินทำอย่างอื่น
ต้นทุนแฝง (Implicit Costs) คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ไม่ทำให้เห็นเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถวัดเป็นเงินได้ แต่เป็นต้นทุนที่ค่าเสียโอกาสที่ทำให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์บางอย่างที่เราอาจจะได้รับจากการเลือกทางเลือกอื่น
จะเห็นว่า Opportunity Cost คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะ เงิน แรงงาน หรือเวลา ทำให้เราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่องหรือทำได้หลายเรื่องพร้อมกัน ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จึงเป็นที่มาของเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่งเราจะไม่ต้องเสียเวลาปลูกผักทั้งที่ไม่ถนัด ในขณะที่สามารถทำอย่างอื่นแล้วได้ผลผลิตมากกว่า
การเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส
การเปรียบเทียนต้นทุนค่าเสียโอกาสคือสิ่งที่ใช้สำหรับการประเมินทางเลือก เพื่อหาทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
สมมติว่า มีคนอยู่ 2 คน คือ นายแดงกับนายดำ และมีงานอยู่ 2 งานที่สองคนนี้ทำได้คือ ปลูกผักและขุดดิน และแน่นอนว่าสองคนนี้มีความสามารถในการทำงานทั้ง 2 งานไม่เท่ากัน
โดยจำนวนงานที่ทั้ง 2 คนสามารถทำได้ใน 1 ชั่วโมงของ นายแดง และ นายดำ จะทำได้ดังนี้

เมื่อเปรียบเทียนต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จะได้ออกมาดังนี้
ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นเมื่อปลูกผัก
ค่าเสียโอกาสของนายแดงในการปลูกผัก 1 แปลง คือ การไม่สามารถขุดดิน 5 แปลง (10÷2)
ค่าเสียโอกาสของนายดำในการปลูกผัก 1 แปลง คือ การไม่สามารถขุดดิน 3 แปลง (12÷4)
ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นเมื่อขุดดิน
ค่าเสียโอกาสของนายแดงในการขุดดิน 1 แปลง คือ การไม่สามารถปลูกผัก 0.2 แปลง (2÷10)
ค่าเสียโอกาสของนายดำในการขุดดิน 1 แปลง คือ การไม่สามารถปลูกผัก 0.3 แปลง (4÷12)
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ในการปลูกผักของนายดำต่ำกว่านายแดง และ ต้นทุนค่าเสียโอกาส ในการขุดดินของนายแดงต่ำกว่านายดำ
นั่นหมายความว่า เมื่อคิดจากต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Costs) จะเห็นว่า นายดำควรไปปลูกผัก และ นายแดงควรไปขุดดิน ตามความสามารถสูงสุดของแต่ละคนนั่นเอง
วิธีเปรียบเทียบ ค่าเสียโอกาส
สำหรับวิธีการเปรียบเทียบ ค่าเสียโอกาส จากต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เมื่อเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถสรุปเป็นขั้นตอนที่ทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้
Time needed: 4 minutes.
สรุป 4 ขั้นตอนที่เกิดขึ้นในการเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส
- สร้างทางเลือก
สร้างทางเลือกทั้งหมดที่มีให้เลือก
- กำหนดเงื่อนไข
สร้างเงื่อนไขประโยชน์ที่ต้องการได้รับจากการตัดสินใจเลือก
- ประเมินค่าเสียโอกาส
ประเมินทางเลือกว่าถ้าเลือกทางเลือกหนึ่งตามเงื่อนไข จะเสียประโยชน์อะไรบ้างจากการไม่เลือกทางอื่น
- หาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด
เปรียบเทียบหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด โดยเลือกทางที่เสียผลประโยชน์น้อยที่สุด
ทั้งนี้การประเมินค่าเสียโอกาสอาจจะไม่ได้วัดจากผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่อาจเป็นความเสี่ยงต่ำที่สุด เร็วที่สุด คุณภาพดีที่สุด เหนื่อยน้อยที่สุด ใช้วัตถุดิบางอย่างน้อยที่สุด หรือสบายใจที่จะทำมากที่สุดก็ได้เช่นกัน