GreedisGoods » Accounting » ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คืออะไรในบัญชี? (Prepaid Expense)

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คืออะไรในบัญชี? (Prepaid Expense)

by Kris Piroj
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า Prepaid Expense วิธี บันทึกบัญชี ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หรือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายออกไปก่อน แต่กิจการไม่ได้รับผลประโยชน์จากการจ่ายเงินดังกล่าวในทันทีหรือได้แค่บางส่วนเท่านั้น  (ตรงข้ามกับการจ่ายเงินสดซื้อของแล้วได้สินค้ามาทันทีตรงนั้น)

โดยในทางบัญชีจะใช้ วันสิ้นงวดเป็นเกณฑ์

หรือสรุปง่าย ๆ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายออกไปแล้ว แต่ภายในระยะเวลาสิ้นงวดบัญชีนั้น กิจการยังไม่ได้ประโยชน์กลับมาจากการจ่ายเงิน หรือยังได้ไม่ครบทั้งหมด

โดยในงบแสดงฐานะการเงิน ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense) จะอยู่ในหมวดสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ส่วนมากจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ภายใน 1 ปีตามเงื่อนไขของหมวดสินทรัพย์หมุนเวียน

แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ( Prepaid Expenses) จะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับท้ายสุด เพราะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำที่สุด เนื่องจากต้องรอเวลาเท่านั้นจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จาก ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ที่กิจการได้จ่ายไปได้


ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า มีอะไรบ้าง?

สำหรับสิ่งที่นับว่าเป็น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หรือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ที่พบเจอได้บ่อย ๆ ในธุรกิจจะมีดังนี้

  • ค่าแรงงานจ่ายล่วงหน้า
  • ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
  • ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า
  • ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า

วิธีบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

สำหรับการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

  1. บันทึกเป็น สินทรัพย์ (ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า)
  2. บันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ลงบัญชีสินทรัพย์

การบันทึกบัญชี ณ วันที่จ่ายเงิน สมมติว่า 15 มีนาคม 2562 จ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า 10,000 บาท

  • Debit ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 10,000
  • Credit เงินสด 10,000

ปรับปรุงบัญชี ณ วันสิ้นงวด โดยจำนวนที่จ่ายไปลงและบันทึกบางส่วนในสินทรัพย์ สมมติว่า 31 มีนาคม 2562 

  • Debit ค่าเช่า 5,000
  • Credit ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 5,000

โดยค่าเช่า 5,000 มาจาก (15 ÷ 30) x 10,000

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ลงบัญชีค่าใช้จ่าย

จากตัวอย่างเดิม ถ้าจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าวันที่ 15 มีนาคม 2562 

  • Debit ค่าเช่า 10,000
  • Credit เงินสด 10,000

ปรับปรุงบัญชี วันที่ 31 มีนาคม 2562 5,000 มาจาก (15 ÷ 30) x 10,000 เหมือนเดิม

  • Debit ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 5,000
  • Credit ค่าเช่า 5,000

บทความที่เกี่ยวข้อง