ตราสารทุน คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่จะแสดงสิทธิในการเป็นเจ้าของ โดยตราสารทุนจะมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งตราสารทุนที่เห็นบ่อย ๆ จะได้แก่
- หุ้นสามัญ (Common Stock) หรือ หุ้นที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหุ้น
- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) หุ้นที่มีสิทธิได้ทุนคืนก่อนเมื่อเลิกกิจการ
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวม (Mutual Fund) ของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ
- ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant) สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทที่ออก Warrant ด้วยราคาและเวลาที่กำหนดไว้
ตราสารทุน (Equity Instrument) จะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบของ “ผู้ลงทุน” กับ “บริษัท” ที่ผู้ลงทุนจะนำเงินไปลงทุนกับตราสารทุนบางอย่าง อย่างเช่น หุ้นสามัญ โดยที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน
ในทางกลับกันบริษัทที่เสนอขายหุ้นสามัญให้กับนักลงทุนก็ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปสร้างผลตอบแทนให้กับกิจการ
ผลตอบแทนของตราสารทุน
โดยทั่วไปตราสารทุน (Equity Instrument) จะให้ผลตอบแทนได้ 2 รูปแบบ คือ เงินปันผล (Dividend) และกำไรจากการซื้อขาย (Capital Gain)
เงินปันผล (Dividend) คือ ส่วนแบ่งกำไรของบริษัท เมื่อบริษัทได้กำไรจากการดำเนินงานบริษัทก็จะแบ่งกำไรให้กับนักลงทุน (ซึ่งมีสถาณะเป็นเจ้าของ)
กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital Gain) คือ กำไรจากการซื้อถูกขายแพง (ส่วนต่าง) ที่เกิดขึ้นจากการขายสิทธิในการเป็นเจ้าของ)
หรือเปรียบเทียบเป็นต้น Apple ที่นาย A ลงทุนปลูกดูแลอย่างดี ผลแอปเปิลจะเปรียบเสมือน เงินปันผล ที่จะงอกเงยเมื่อบริษัทเติบโต
ส่วนกำไรจากการซื้อขาย (Capital Gain) จะเหมือนกับการที่นางสาว B เห็นว่าต้น Apple ของ A ออกลูกดกให้ผลตอบแทนที่ดี นางสาว B จึงขอซื้อสิทธิในการเป็นเจ้าของต้น Apple ดังกล่าวจากนาย A ด้วยราคาที่ A เสนอ (สมมติว่า 100,000 บาท)
หลังจากนั้นนางสาว B ก็ได้ขายต่อต้น Apple ให้กับนาย C ในราคา 150,000 ซึ่งนาย C ก็ต้องการต้น Apple ด้วยเหตุผลเดียวกัน
กำไร 50,000 บาทที่ C ได้ เราจะเรียกว่า Capital Gain