ต้นทุนการผลิต คืออะไร?
ต้นทุนการผลิต คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าบางอย่างขึ้นมา โดยต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ประกอบด้วยต้นทุน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) และค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead)
โดยแต่ละส่วนของต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) มีความหมายคร่าว ๆ ดังนี้:
ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) คือ ต้นทุนการผลิตที่มาจากต้นทุนค่าวัตถุดิบของสินค้า ซึ่งจะแตกต่างกันไปในสินค้าแต่ละประเภท เช่น การผลิตชาเขียวก็จะมีต้นทุนจากน้ำและใบชา เป็นต้น
ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแรงงาน เพื่อการแปรรูปวัตถุดิบ (Material) ไปเป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finish Goods)
ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead) หรือบางครั้งเรียกว่าค่าโสหุ้ย เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผันแปรตามจำนวนการผลิต โดยส่วนมากค่าใช้จ่ายโรงงานหรือ Manufacturing Overhead และมักจะเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
ต้นทุนการผลิต มีอะไรบ้าง?
ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าบางอย่างขึ้นมา โดยต้นทุนการผลิตประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) และค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead)
โดยต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs) ทั้ง 3 ส่วนมีความสัมพันธ์ที่สามารถเขียนในรูปสมการได้ว่า ต้นทุนการผลิต = ต้นทุนวัตถุดิบ + ต้นทุนแรงงาน + ค่าใช้จ่ายโรงงาน
ตัวอย่างเช่น บริษัท GIGS มีต้นทุนการผลิตเกิดขึ้นใน 1 เดือนดังนี้คือ ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) ทั้งหมด 100,000 บาท ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) ทั้งหมด 10,000 บาท และค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead) 9,000 บาท และใน 1 เดือนที่ผ่านมาบริษัท GIGS ผลิตสินค้าทั้งหมด 10,000 ชิ้น
ต้นทุนการผลิต = 100,000 + 10,000 + 9,000 หรือต้นทุนการผลิตรวมของบริษัท GIGS = 119,000 บาท
ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost)
ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) คือ ต้นทุนการผลิตที่มาจากต้นทุนค่าวัตถุดิบของสินค้านั้น ๆ ซึ่งรวมถึงต้นทุนของวัสดุทั้งหมดที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ต้นทุนของวัตถุดิบ ส่วนประกอบ และวัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่จะแตกต่างกันไปในสินค้าแต่ละประเภท
กล่าวคือ ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) เป็นต้นทุนรวมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น ในการผลิตชาเขียวก็จะมีต้นทุนจากน้ำและใบชาอยู่
ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) เป็นส่วนสำคัญของต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) โดยปกติจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้ผลิต แม้ว่าต้นทุนต้นทุนวัตถุดิบอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ปริมาณของวัสดุที่ต้องการ และต้นทุนของวัตถุดิบในตลาด
ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost)
ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) คือ ต้นทุนของแรงงานทางตรงที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อการแปรรูปวัตถุดิบ (Material) ไปเป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finish Goods) โดยรวมถึงค่าจ้างและสวัสดิการที่จ่ายให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงในกระบวนการผลิต เช่น ผู้ควบคุมเครื่องจักร พนักงานในสายการประกอบ และผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะคำนวณเป็นรายชั่วโมง และต้นทุนแรงงานทั้งหมดสำหรับการดำเนินการผลิตจะคำนวณได้โดยการคูณอัตราแรงงานรายชั่วโมงด้วยจำนวนชั่วโมงแรงงานที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา
ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead)
ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Manufacturing Overhead) หรือบางครั้งเรียกว่าค่าโสหุ้ย เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งหมดที่ไม่ได้ผันแปรตามจำนวนการผลิต และไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนของวัตถุดิบ (Material Cost) หรือต้นทุนแรงงาน (Labor Cost)
ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและอุปกรณ์ และต้นทุนทางอ้อมอื่น ๆ
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
นอกจากนี้ สามารถนำตัวเลขที่ได้จากการหาต้นทุนการผลิตรวม (Total Manufacturing Cost) มาใช้คำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยได้จากการนำ ต้นทุนการผลิตรวมหารด้วยจำนวนหน่วยที่ผลิต ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้:
ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย = ต้นทุนการผลิตรวม ÷ จำนวนหน่วยผลิต
จากตัวอย่างเดิมเมื่อคำนวณจะได้ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย = 119,000 ÷ 10,000 หรือ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของสินค้าจากตัวอย่าง = 11.90 บาทต่อชิ้น