GreedisGoods » Business » ทฤษฎีของโอไฮโอ ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ The Ohio State Leadership Study

ทฤษฎีของโอไฮโอ ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ The Ohio State Leadership Study

by Kris Piroj
ทฤษฎีของโอไฮโอ คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำ The Ohio State Leadership Study

ทฤษฎีของโอไฮโอ คืออะไร?

The Ohio State Study หรือ ทฤษฎีของโอไฮโอ คือ ทฤษฎีผู้นำที่ใช้แบ่งและแสดงให้เห็นลักษณะพฤติกรรมของผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Initiating Structure) และผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน (Consideration)

ทฤษฎีของโอไฮโอ (The Ohio State Study) คือ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (The Ohio State University) ที่ได้ออกแบบสอบถามที่ชื่อว่า Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) ที่เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำ 150 รายการ เพื่อแจกให้กับพนักงานทั้งหน่วยงานทางทหารและพนักงานเอกชนทั่วไปในปี 1954

จากงานวิจัยของ The Ohio State Leadership Study จึงได้เป็นข้อสรุปที่น่าสนใจจากการตอบแบบสอบถามคือการกำหนดพฤติกรรมผู้นำออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบมุ่งงาน (Consideration) และผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบมุ่งความสัมพันธ์ (Initiating Structure)

โดย The Ohio State Study หรือ ทฤษฎีของโอไฮโอ จะเป็นทฤษฎีที่แบ่งพฤติกรรมของผู้นำเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Initiating Structure) คือ ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับสัมพันธ์ในการทำงาน
  • พฤติกรรมมุ่งงาน (Consideration) คือ ผู้นำที่มีพฤติกกรมให้ความสำเร็จของงาน

ผู้นำตามทฤษฎีของโอไฮโอ

นอกจากนี้ จากงานวิจัยของมหาวิทยลัยแห่งรัฐโอไฮโอยังพบว่าพฤติกรรมผู้นำทั้ง 2 แบบเป็นอิสระต่อกัน นั่นหมายความว่าผู้นำคนหนึ่งอาจมีทั้งพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Initiating Structure) และพฤติกรรมมุ่งงาน (Consideration)

ดังนั้น การที่พฤติกรรมของผู้นำตามทฤษฎีของโอไฮโอเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ลักษณะของ ผู้นำตามทฤษฎีของโอไฮโอ ยังสามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่

ผู้นำที่มุ่งงานเพียงอย่างเดียว คือ ผู้นำที่ให้ความสนใจเพียงแค่ผลลัพธ์ของงาน โดยไม่สนใจความสัมพันธ์กับพนักงานหรือทีม

ผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์อย่างเดียว คือ ผู้นำที่เน้นรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานเป็นหลัก แต่ไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ของงาน

ผู้นำที่มุ่งทั้งงานและสัมพันธ์ คือ ผู้นำที่ให้ความสำคัญทั้งผลลัพธ์จากงาน แต่ก็ยังเน้นรักษาความสัมพันธ์ในที่ทำงานเพราะเชื่อว่ามีผลต่อผลลัพธ์ของงาน

ผู้นำที่ไม่มุ่งงานและไม่มุ่งสัมพันธ์ คือ ผู้นำที่ไม่ให้ความใส่ใจทั้งผลของงานและความสัมพันธ์ในที่ทำงาน เป็นรูปแบบของผู้นำที่แย่ที่สุดจากทั้ง 4 รูปแบบ

พฤติกรรมมุ่งงาน (Initiating Structure)

พฤติกรรมมุ่งงาน (Initiating Structure) คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นที่ความสำเร็จของงาน (Task Achievement) สนใจในความคืบหน้าของงาน ในการควบคุมพนักงานของผู้นำแบบพฤติกรรมมุ่งงานจะใช้คำสั่งและการสั่งการ และเน้นไปที่การกระตุ้นให้ลูกน้องหรือพนักงานรับผิดชอบงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

ตัวอย่างของประเทศที่ลักษณะพฤติกรรมมุ่งงานที่มักจะพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศส่วนใหญ่ในชาติตะวันตก

พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Consideration)

พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Consideration) คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ในที่ทำงานและในทีม เป็นผู้นำที่เน้นสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานหรือลูกน้อง เพราะเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้งานสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น

โดยพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ของผู้นำมักจะพบในประเทศที่เน้นความเป็นครอบครัว เน้นความสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น ประเทศแถบละตินอเมริกา ไทย จีน และประเทศส่วนใหญ่ในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บทความที่เกี่ยวข้อง