ทฤษฎี Fisher Effect คืออะไร?
ทฤษฎี Fisher Effect คือ ทฤษฎีที่อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) ของ 2 ประเทศ กับ ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) โดยทฤษฎี Fisher Effect เป็นแนวคิดของ Irving Fisher นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่คิดค้นขึ้นในช่วง 1930s
ทฤษฎี Fisher Effect มีแนวคิดว่า อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) จะมีค่าเท่ากับ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) + อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ของประเทศนั้น ๆ
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) + อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์
อธิบายให้ง่ายกว่านั้น ทฤษฎี Fisher Effect เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) จะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation)
หรือในอีกมุมคือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) = ความแตกต่างอัตราเงินเฟ้อ
ตัวอย่าง Fisher Effect
สมมติว่า ประเทศอังกฤษ มีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 2.2% และมีอัตราเงินเฟ้อ 3% ส่วนประเทศสวิสเซอร์แลนด์มีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 1.9% และมีอัตราเงินเฟ้อ 2.8%
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) ของประเทศอังกฤษ = 2.2 + 3 หรือ 5.2%
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ = 2.2 + 2.8 หรือ 5%
ซึ่งทฤษฎี Fisher Effect จะเชื่อว่า ดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน หรือ Nominal Interest Rate ของทั้ง 2 ประเทศจะแตกต่างกันเท่ากับอัตราเงินเฟ้อของทั้ง 2 ประเทศ
จากตัวอย่าง จะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) ของประเทศอังกฤษ จะมากกว่าประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินของประเทศอังกฤษมากกว่า 0.2%
ดังนั้น ถ้าสรุปตาม ทฤษฎี Fisher Effect จะหมายความว่า ประเทศอังกฤษควรมีอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) มากกว่าประเทศสวิสเซอ์แลนด์ 0.2%