GreedisGoods » International Business » ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ คืออะไร? ทฤษฎีแรงจูงใจของ Geert Hofstede

ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ คืออะไร? ทฤษฎีแรงจูงใจของ Geert Hofstede

by Kris Piroj
ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ คือ ทฤษฎีแรงจูงใจของ Geert Hofstede

ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ คือ ทฤษฎีแรงจูงใจซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีของ Geert Hofstede เป็นสิ่งที่เกิดจากการที่ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y (Theory X and Theory Y) ของ Douglas McGregor ไม่เหมาะกับการอธิบายพฤติกรรมของพนักงานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia : SEA)

โดยความหมายของทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ ของ Geert Hofstede มีดังนี้:

  • ทฤษฎี T คือ ทฤษฎีที่เชื่อว่าคนจะยึดถือประเพณี ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • ทฤษฎี T+ คือ ทฤษฎีที่เชื่อว่าคนมองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ และยอมรับการเปลี่ยนแปลง

สำหรับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ South East Asia ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมไปถึงเกาะที่อยู่แถบนี้ด้วย


ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+

นอกจากนี้ จากแนวคิดของ Geert Hofstede เกี่ยวกับทฤษฎี T และทฤษฎี T+ ยังได้สรุปลักษณะของพฤติกรรมของคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ ดังนี้

1. เน้นรักษาความสัมพันธ์

สังคมของคนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเน้นรักษาความสัมพันธ์ การทำงานเป็นแบบกลุ่ม หรือที่เรารู้จักกันในลักษณะของการเน้นทำงานร่วมกันเหมือนครอบครัว

รวมไปถึงเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็จะมากจากเรื่องความสัมพันธ์ด้วย ไม่ได้มาจากความสามารถเพียงอย่างเดียวเหมือนกับประเทศตะวันตก

2. วัตถุประสงค์จะขึ้นอยู่กับพระเจ้า

Geert Hofstede มองว่าแรงจูงใจในการทำอะไรซักอย่างของคนในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำไปเพราะเชื่อว่าเป็นประสงค์ของพระเจ้า

3. งานไม่ใช่ทุกอย่าง

Geert Hofstede มองว่าถึงคนจะให้ความสำคัญกับงาน แต่งานไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต

4. พยายามแสวงหาความเหมาะสมในการใช้ชีวิตอย่างสงบ

คนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเน้นหาความเหมาะสมในการใช้ชีวิตอย่างสงบ รวมทั้งปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมชาติ


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทฤษฎีแรงจูงใจเกิดขึ้นมาจากการที่ ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y ของ Douglas McGregor อธิบายพฤติกรรมและแรงจูงใจของคนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ไม่ดีพอ

แต่ทฤษฎี T และ ทฤษฎี T+ เองก็ไม่สามารถอธิบายในเรื่องของแรงจูงใจได้ดีพอเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น จะเห็นชัดเจนว่าข้อ 2. ไม่จริงเสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธก็ไม่ได้ทำอะไรก็ตามโดยมีจุดมุ่งหมายว่า “เป็นประสงค์ของพระเจ้า”

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด