GreedisGoods » Economics » ธนาคารโลก หรือ World Bank คืออะไร? มีหน้าที่อะไร

ธนาคารโลก หรือ World Bank คืออะไร? มีหน้าที่อะไร

by Kris Piroj
ธนาคารโลก คือ World Bank คือ หน้าที่ ที่ตั้ง

ธนาคารโลก คืออะไร?

ธนาคารโลก หรือ World Bank คือ ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นมาหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประเทศที่เป็นสมาชิกด้วยการให้กู้เงินในระยะยาวเพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูประเทศที่เสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะนั้น

ธนาคารโลกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ที่เบร็ตตันวูดส์ (Bretton Woods) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นด้วยสมาชิก 38 ประเทศ โดยในปัจจุบันธนาคารโลก มีประเทศสมาชิกอยู่ทั้งหมด 188 ประเทศ

ธนาคารโลกเปรียบเสมือนสหกรณ์ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 189 ประเทศ ประเทศสมาชิกหรือผู้ถือหุ้นเหล่านี้เป็นตัวแทนของคณะกรรมการผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายขั้นสูงสุดที่ธนาคารโลก โดยทั่วไปแล้วผู้ว่าการจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาของประเทศสมาชิก

ซึ่งพวกเขาจะพบกันปีละครั้งในการประชุมประจำปีของคณะกรรมการกลุ่มธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF)

ปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของธนาคารโลก (World Bank) ตั้งอยู่ที่ 1818 H Street Northwest, Washington, D.C. 20433, ประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนธนาคารโลก (World Bank) สาขาประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 30 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

หน้าที่ของธนาคารโลก

หน้าที่ของธนาคารโลก โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศของสมาชิก ด้วยการเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนและความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งมั่นที่จะลดความยากจน เพิ่มความมั่งคั่งร่วมกัน และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยเป้าหมายหลักของธนาคารโลก (World Bank) ได้แก่

  • ให้กู้ยืมเงิน
  • ช่วยค้ำประกันเงินกู้
  • เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้

การให้กู้ยืมของธนาคารโลก จะเป็นการให้กู้เงินในระยะยาวและมีดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยที่เงินก้อนดังกล่าวมีเงื่อนไข คือ ต้องนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตอนที่กู้ เช่น นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การช่วยค้ำประกันเงินกู้ เพราะการค้ำประกันเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิก จะทำให้สมาชิกมีต้นทุนในการกู้เงินที่ต่ำ (ดอกเบี้ยต่ำ)

เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศของตนเอง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศสมาชิก

เป้าหมายของธนาคารโลกในปี 2030

ณ ปี 2022 ธนาคารโลกระบุเป้าหมาย 17 เป้าหมายซึ่งตั้งเป้าให้เป้าหมายบรรลุผลภายในปี 2030 หรือปี พ.ศ. 2573 โดย 2 อันดับแรกระบุไว้ในพันธกิจ ได้แก่

ประการแรกคือการยุติความยากจนขั้นรุนแรงด้วยการลดจำนวนผู้คนที่มีรายได้น้อยกว่า $1.90 ต่อวันให้ต่ำกว่า 3% ของประชากรโลก

ประการที่สองคือการเพิ่มความมั่งคั่งโดยรวมโดยการเพิ่มการเติบโตของรายได้ที่ระดับล่าง 40% ของทุกประเทศในโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด