GreedisGoods » Statistics » บัญญัติไตรยางค์ คืออะไร? วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์

บัญญัติไตรยางค์ คืออะไร? วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์

by Kris Piroj
บัญญัติไตรยางค์ คือ บัญญัติไตรยางศ์ Rule of Three วิธี เทียบบัญญัติไตรยางค์

บัญญัติไตรยางค์ คืออะไร?

บัญญัติไตรยางค์ คือ การเปรียบเทียบสัดส่วนเพื่อหาค่าที่สามจากความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นบัญญัติไตรยางค์ (Rule of Three) คือการหาจำนวนที่ 3 เมื่อรู้จำนวนที่ 1 และ 2 อยู่แล้ว ซึ่งเรียกว่าการเทียบบัญญัติไตรยางค์

ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณรู้ว่าน้ำส้ม 21 ขวดราคา 200 บาท แต่ต้องการทราบว่าถ้าต้องการซื้อน้ำส้ม 6 ขวดจะต้องใช้เงินกี่บาท

โดยความสัมพันธ์ของ บัญญัติไตรยางศ์ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

  • การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า บัญญัติไตรยางค์แบบแปรผันตรง 
  • การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม เรียกว่า บัญญัติไตรยางค์แบบผกผัน

สำหรับชื่อที่ฟังดูยากของ บัญญัติไตรยางค์ มาจากชื่อภาษาอังกฤษ Rule of Three (หรือ กฎ + ของ/แห่ง + สาม)

วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์

วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์ ที่ง่ายที่สุดคือ การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วหาให้ได้ว่า 1 หน่วยเท่ากับเท่าไหร่ เพื่อนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาว่า x หน่วยเท่ากับเท่าไหร่

ตัวอย่าง วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์ที่ 1 จากตัวอย่างเดิม เมื่อรู้ว่าน้ำส้ม 21 ขวดราคา 200 บาท แต่ต้องการทราบว่าถ้าต้องการซื้อน้ำส้ม 6 ขวดจะต้องใช้เงินกี่บาท

ขั้นแรก หาว่า 1 หน่วย (ในที่นี้คือ 1 ขวด) คือเท่าไหร่

จากข้อมูลที่มี จะเห็นว่ารู้ว่าน้ำส้ม 21 ขวดราคา 200 บาท

ดังนั้นน้ำส้ม 1 ขวด = 200÷21 หรือเท่ากับ 9.52 บาท

จากนั้นจะสามารถหาคำตอบที่ต้องการได้ว่า 6 ขวดจะใช้กี่บาท

ด้วยการนำมูลค่าของ 1 หน่วยที่หาได้ คูณด้วยจำนวนที่ต้องการ (ในที่นี้คือ 6 ขวด)

ดังนั้น ราคาของน้ำส้ม 6 ขวด = 6 x 9.52 เท่ากับ 57.12 บาท หรือก็คือราคาของน้ำส้ม 6 ขวด

ตัวอย่าง วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์ที่ 2 เทียบบัญญัติไตรยางค์ หาว่ารถ 9 คันราคาเท่าไหร่ หากทราบว่ารถ 4 คันราคา 4 ล้าน 9 แสนบาท

ขั้นแรก หาว่า 1 หน่วยคือเท่าไหร่

  • ราคาของรถ 1 คัน = 4,900,000 บาท ÷ 4 คัน
  • ดังนั้น รถ 1 คัน ราคา 1,225,000 บาท

จากนั้นหาว่ารถ 9 คันราคาเท่าไหร่

  • ราคาของรถ 9 คัน = 9 x 1,225,000 บาท
  • ดังนั้น รถ 9 คัน จะมีราคา 11,025,000 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง