ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก คือ อะไร? ทำความเข้าใจกับ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และสิทธิ ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก หลังจาก กรมสรรพากร กลับไปทบทวน ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก คือ ภาษีที่จะเก็บจากรายได้จาก ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ แต่จะมีการยกเว้น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ให้กับผู้ที่มีรายได้จากเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาท
พูดให้ง่ายกว่านั้น ถ้าดอกเบี้ยคือ 0.5% จะต้องมีเงินฝากออมทรัพย์ 4,000,000 บาทจึงจะต้องจ่าย ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่
และอย่างที่รู้กันว่าก่อนหน้านี้กรมสรรพากรจะไม่ให้สิทธิยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก กับผู้ที่ไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร และกลายมาเป็นปัญหาจากการที่ทุกคนต้องเดินทางไปเซ็นต์ยินยอมที่ธนาคาร จนเป็นเหตุให้สรรพากรแก้ในส่วนนี้ใหม่
ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 กรมสรรพากรได้ออกมาแก้ไขเงื่อนไขในการยินยอมส่งข้อมูลดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นให้ผู้ที่ไม่ยินยอมจะต้องไปทำเรื่องกับธนาคารว่าไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและไม่รับสิทธิในการ ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ในข้างต้นแทน
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและไม่ต้องการรับสิทธิในการยกเว้น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 20,000 บาท สามารถไปที่ธนาคารเพื่อแจ้งว่าไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยได้ในวันที่ 7 ถึง 14 พฤษภาคม 2562 ที่จะถึงเป็นต้นไป
โดยเหตุผลที่ต้องไปในวันที่ 7 – 14 พฤษภาคม 2562 ก็เพราะว่าในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 จะถึงคือการส่งข้อมูลดอกเบี้ยและการจ่ายภาษีจากดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบปี
ปกติปีหนึ่งธนาคารจะต้องจ่าย ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 2 ครั้งอยู่แล้ว อีกครั้งคือ 15 พฤศจิกายน 2562
ถ้าพลาดครั้งนี้แล้วคุณต้องการที่จะไม่ส่งข้อมูลให้กับธนาคารอยู่ คุณก็ยังสามารถไปทำเรื่องได้ตลอด เพื่อให้ตั้งแต่ครั้งต่อไปธนาคารไม่ส่งข้อมูลดอกเบี้ยของคุณให้กับกรมสรรพากร
ทำอย่างไรกับ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นว่าผู้ที่ไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลเกี่ยวกับ ดอกเบี้ยเงินฝาก ให้กับกรมสรรพากร จะทำให้ไม่ได้รับสิทธิ การยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 344 ที่มีผลมาตั้งแต่ 4 เมษายน 2562 แล้ว เพียงแค่ครั้งนี้เป็นการปรับ
แต่ตอนนี้ได้มีการแก้ไขจากต้องเดินทางไปยินยอม เป็นธนาคารคารจะส่งข้อมูลดอกเบี้ยทุกคนให้สรรพากร ซึ่งผู้ที่ไม่ยินยอมให้ส่งต้องเดินทางไปแจ้งว่าไม่ให้ธนาคารส่งที่ธนาคารแทน (สลับกับแบบเดิมที่เป็นประเด็นในช่วงก่อนหน้านี้)
สรุป ไม่ต้องทำอะไรถ้าหากต้องการ ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ไม่เกิน 20,000 บาท เหมือนกับที่ผ่านมา
แต่ถ้าไม่อยากส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากร ก็จะต้องไปแจ้งความประสงค์กับธนาคาร ซึ่งก็จะเสียสิทธิในการยกเว้น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

รายละเอียดที่กรมสรรพากรออกมาแถลง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ถ่ายทอดสด การแถลงข่าว เกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 20,000 บาท
สำหรับใครที่ติดตามประเด็น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก มาบ้างแล้วในช่วงก่อนหน้าจะเห็นว่า ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก หลังแก้ไขจะคล้ายกับ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 344 ที่กรมสรรพากรประกาศออกมาก่อนหน้านี้ (ก่อนแก้ไข)
แต่สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตาม ในบทความส่วนนี้จะสรุปประเด็นก่อนหน้าทั้งหมดแบบสั้น ๆ (ผู้ที่ทราบอยู่แล้วข้ามส่วนนี้ไปก็ได้)
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ก่อนแก้ไข
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมสรรพากรประกาศแก้เงื่อนไขการยกเว้น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากที่ไม่เกิน 20,000 บาท โดยคุณต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้ กรมสรรพากร จึงจะได้สิทธิในการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากข้างต้น (เมื่อก่อนทุกคนจะได้ยกเว้นอยู่แล้วแบบไม่ต้องทำอะไร)
แต่ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูล ด้วยการไปเซ็นต์ยินยอมที่ธนาคาร คุณจะไม่ได้สิทธิ ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก นั่นหมายถึงคุณต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยทันทีไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยกี่บาท (ธนาคารเป็นผู้นำส่ง)
ปัญหาอยู่ตรงที่การเซ็นต์ยินยอมมีกรอบระยะเวลาแค่ประมาณ 1 เดือน (จากช่วงที่เป็นประเด็น) ที่ทุกคนต้องเดินทางไปเซ็นต์ยินยอมกับทุกธนาคารที่แต่ละคนมีบัญชี
สำหรับใครที่สงสัยว่าทำไมต้องแก้เงื่อนไขในการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก คำตอบคือ การยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากแบบเก่า มีช่องว่างที่นำไปใช้เลี่ยงภาษีได้อยู่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุป ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
ใครได้รับผลจาก ดอกเบี้ยเงินฝาก
สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ภาษีดอกเบี้ย จะมี 2 กลุ่ม คือ
ผู้มีบัญชีออมทรัพย์ที่ได้ดอกเบี้ยเงินฝากรวมกันมากกว่า 20,000 บาท ที่กำลังใช้ช่องโหว่ของกฎหมายอยู่ โดยที่อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม (ที่ผ่านมาไม่ได้จ่ายภาษีดอกเบี้ยเงินฝากอย่างถูกต้อง)
ผู้ที่ไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้สรรพากร ที่จะทำให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากกี่บาท