ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ โดยภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่จะเกิดขึ้นเมื่อที่ดินดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้ทำประโยชน์อะไร (ที่ดินเปล่า) โดยจะจัดเก็บจากที่ดินทุกประเภทไม่ว่าที่ดินนั้นจะใช้ทำอะไร และรวมไปถึงที่ดินที่พื้นที่เป็นภูเขาหรือมีน้ำด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาษีบำรุงท้องที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปี 2562 โดยถูกทดแทนด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 ทำให้ในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ส่วนหนึ่งของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปแล้วนั่นเอง
แต่เดิมกรณีที่ที่ดินนั้นถูกใช้ทำประโยชน์ก็จะไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เนื่องจากในกรณีที่ใช้ที่ดินทำประโยชน์ที่ดินแปลงนั้นก็จะต้องจ่ายภาษีที่ดินอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีบำรุงท้องที่ซ้ำซ้อนอีกครั้ง
ดังนั้น หากสับสนระหว่าง ภาษีบำรุงท้องที่ กับ ภาษีที่ดิน ว่าใช่ภาษีตัวเดียวกันหรือเปล่า คำตอบคือไม่เหมือนกัน ภาษีบำรุงท้องที่คือภาษีสำหรับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในขณะที่ภาษีที่ดินเป็นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้ทำประโยชน์
วิธียื่นภาษีบำรุงท้องที่
วิธียื่นภาษีบำรุงท้องที่ สามารถยื่นภาษีได้ภายในเดือนเมษายนของทุกปี (ภายใน 30 เมษายนของทุกปี) สามารถยื่นภาษีบำรุงท้องที่ได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ ขึ้นอยู่ว่าที่ดันแปลงนั้นของคุณอยู่ที่ไหน
ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณมีที่ดินในกรุงเทพคุณก็จะต้องยื่นภาษีบำรุงท้องที่ที่สำนักงานเขต และที่ดินนอกเขตเทศบาลจะต้องไปยื่นที่ที่ว่าการอำเภอ
แต่อย่างที่ได้อธิบายในตอนต้นว่าปัจจุบันภาษีบำรุงท้องที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจึงต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนภาษีบำรุงท้องที่นั่นเอง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ ก็จะมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้น
ในการยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
- โฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน หรือหนังสือสัญญาอย่างอื่น
- แบบแสดงรายการที่ดิน ภ.บ.ท.5 ที่จะใช้ยื่นเสียภาษี
- ใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีครั้งล่าสุด (ถ้ามี)
อัตราภาษีบำรุงท้องที่
อัตราภาษีบำรุงท้องที่ และค่าลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ในแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันออกไป ผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบได้จากส่วนท้องถิ่นที่ฝ่ายรายได้
ในส่วนของตัวเลขที่นำมาเป็นฐานภาษีบำรุงท้องที่ สำหรับใช้คำนวณมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายจะมาจากราคาปานกลางของที่ดิน ซึ่งจะอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินราคาปานกลางของที่ดิน 4 ปีต่อ 1 ครั้ง (ยกเว้นแต่จะมีเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ต้องประเมินใหม่)
การยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่
อย่างไรก็ตาม ภาษีบำรุงท้องที่ มีข้อยกเว้นสำหรับที่ดินที่ไม่ต้องจ่ายภาษีอยู่ด้วยเช่นเดียวกับภาษีแบบอื่น สำหรับที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ มีรายการดังนี้
- ที่ดินที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
- ที่ดินที่เป็นสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้กิจการของรัฐและสาธารณะ ที่มิได้หาผลประโยชน์
- ที่ดินราชการส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้หาผลประโยชน์
- ที่ดินที่ใช้ในการศึกษา การพยาบาล หรือการการกุศลสาธารณะ
- ที่ดินที่เป็นศาสนกิจ
- ที่ดินสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ
- ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ ประปา การไฟฟ้า ท่าเรือของรัฐ หรือสนามบินของรัฐ
- ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว (อย่างที่บอกในตอนต้น)
- ที่ดินที่เป็นที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศที่มีข้อยกเว้นตามอนุสัญญา
- ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานฑูต หรือสถานกงสุล
- ที่ดินของเอกชน ส่วนที่เจ้าของที่ดินบอมให้ราชการใช้ประโยชน์
- ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำถามที่พบบ่อย
ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที?
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น
ภาษีบำรุงท้องที่กับภาษีที่ดิน เหมือนกันหรือไม่?
- ไม่เหมือนกัน ภาษีที่ดินเป็นภาษีที่มาแทนภาษีบำรุงท้องที่ที่ถูกยกเลิกไปในปี 2562