Value Added Tax หรือ VAT (แวต) คือหนึ่งในภาษีที่ทุกคนได้ยินชื่อบ่อยครั้งและเชื่อว่าทุกคนที่กำลังอ่านบทความนี้ต้องเคยจ่าย VAT ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่า VAT คืออะไร? แท้จริงแล้วใครบ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย
VAT คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ย่อมาจาก Value Added Tax โดย VAT เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือบริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและการขายสินค้าหรือบริการทั้งในประเทศและสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่ง VAT จะเป็นภาษีที่จัดเก็บโดยคำนวณมาจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
อธิบายให้ง่ายกว่านั้น VAT หรือ Value Added Tax คือ ภาษีที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภค (ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อขายของบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) ซึ่งในทุกการซื้อขายจะต้องจ่าย VAT 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการนั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อข้าวหรือการซื้อโทรศัพท์มือถือก็ล้วนต้องจ่าย VAT ทั้งสิ้น
ปัจจุบัน อัตราภาษี VAT คือ 10% ซึ่ง Value Added Tax หรือ VAT ของไทยมีอัตราร้อยละ 10 หรือ 10% มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ที่เริ่มต้นเก็บ VAT อยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษี VAT ลงเหลือ 7% ทุก 2 ปีมาโดยตลอด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราเห็น VAT 7% มาโดยตลอดแทนที่จะเป็น VAT 10%
โดย VAT ที่จัดเก็บได้ 1 ใน 9 ส่วน จะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอีก 8 ส่วนที่เหลือจะเข้ารัฐบาลกลาง หรือถ้าหากคุณจ่าย VAT ในการซื้อสินค้าไปทั้งหมด 9 บาท 1 บาทจะเข้าท้องถิ่น และอีก 8 บาทจะเข้ารัฐบาลกลางนั่นเอง
เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
ใครต้องจ่าย VAT
VAT คือ ภาษีที่ถือว่าเป็นภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) ซึ่งหมายความว่าผู้ขายสามารถผลักภาระในการจ่าย VAT ให้กับผู้ซื้อสินค้าได้ ตัวอย่างเช่น สินค้า A ราคา 100 บาท ผู้ขายจะขายสินค้า A ให้คุณในราคา 107 บาท (โดยบอกคุณว่าราคานี้รวม VAT แล้ว)
ซึ่งร้านค้าไม่ได้โกหกคุณแต่อย่างใด เพราะร้านค้าจะได้เงินจากการขายสินค้า A เพียงแค่ 100 บาท ส่วนอีก 7 บาทผู้ขายจะนำไปจ่าย VAT หรือ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับสรรพากรทุกเดือน โดย VAT ที่ผู้ขายต้องนำส่งสรรพากรจะจ่ายเพียงแค่ผลต่างระหว่างภาษีซื้อกับภาษีขายเท่านั้น
หรือถ้าเขียนเป็นสมการคือ: VAT ที่ต้องนำส่ง = VAT ขาย – VAT ซื้อ
- ภาษีซื้อ คือ VAT ที่เสียไปจากการจ่ายเงินซื้อวัตถุดิบ
- ภาษีขาย คือ VAT ที่ได้มาจากการขายสินค้า (เหมือนในตัวอย่างสินค้า A)
สมมติว่าทั้งเดือน VAT จากการที่ผู้ขายซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้าทั้งหมดคือ 5 บาท และทั้งเดือนนี้ขายสินค้าได้ VAT มา 7 บาท (จากตัวอย่างข้างบน) ผลต่างระหว่างภาษีขายกับภาษีซื้อ ซึ่งเป็นจำนวนที่ผู้ขายต้องนำส่ง VAT ในกับสรรพากรในเดือนนี้จะเท่ากับ
สมมติว่า VAT จากการซื้อวัตถุดิบในผลิตสินค้า A คือ 4.5 บาท (วัตถุดิบราคา 50 บาท) ผลต่างระหว่าง ภาษีขายกับภาษีซื้อที่ร้านต้องนำส่ง VAT ให้สรรพากรจะเท่ากับ VAT ที่ต้องนำส่ง = 7 – 4.5 = 4.5 บาท
อย่างไรก็ตาม การที่จะนำส่ง VAT ได้ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ดังกล่าวจะต้อง จดทะเบียน VAT หรือที่เรียกสั้นๆ กันว่า จด VAT ก่อนจึงจะสามารถนำส่ง VAT ได้
จด VAT
จด VAT หรือ จดทะเบียน VAT คือ การจดทะเบียนผู้ประกอบการเพื่อนำส่ง VAT พูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ ผู้มีรายได้หรือธุรกิจที่มีรายได้จากการขายสินค้า (ที่จดทะเบียน VAT) จะต้องนำส่ง VAT ในกับสรรพากรทุกเดือน เพราะ VAT คือภาษีที่เก็บจากผู้บริโภค ถ้าหากลูกค้าซื้อขนมห่อละ 20 บาทแล้วต้องค่อยยื่น VAT ครั้งละ 1.4 บาทก็ฟังดูแปลกๆ ดังนั้นผู้ขายจึงมีหน้าที่รวบรวมเงินจำนวนดังกล่าวที่ได้จากการขายสินค้า (ที่บวก VAT เข้าไปแล้ว) ให้สรรพากร
ผู้ที่จะต้อง จด VAT คือ ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านทุกคนจะต้องจด VAT โดยการจดทะเบียน VAT มีข้อยกเว้นอยู่ 2 กรณี คือ ผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จะจด VAT หรือไม่จด VAT ก็ได้)
ผู้ที่ไม่ต้องจด VAT
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องจดทะเบียน VAT ได้แก่
- ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
- ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร แต่เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
- ผู้ประกอบการอื่น ตามที่อธิบดีจะประกาศเมื่อมีเหตุอันสมควร
ผู้ที่ได้รับการยกเว้น VAT
ได้รับยกเว้นภาษี VAT แต่มีสิทธิขอจดทะเบียน VAT (จะจดหรือไม่จด VAT ก็ได้) ได้แก่
- ขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
- การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
- การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
วิธีคำนวณ VAT
วิธีคำนวณ VAT ที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้าจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี เรียกว่า VAT นอก และ VAT ใน ซึ่งแตกต่างกันที่การไม่รวม VAT เข้าไปในราคาสินค้า กับ รวม VAT เข้าไปในราคาสินค้า
VAT นอก คือ การคำนวณราคาสินค้าแยกจาก VAT ตัวอย่างเช่น สินค้าราคา 100 บาท VAT คือ 7% ดังนั้น ราคาสินค้าที่ต้องจ่ายในกรณี VAT นอกคือ 100 + 7% = 107 บาท
VAT ใน คือ การคำนวณราคาสินค้าโดยรวม VAT เอาไว้แล้วไม่ต้องคิดแยกอีกครั้งเมื่อจ่ายเงิน โดย VAT ในจะคำนวณมาจาก ราคาสินค้า – (ราคาสินค้า x 100 ÷ 107) = VAT ใน ถ้าสินค้าราคา 100 บาท และ VAT คือ 7% ดังนั้นใน 100 บาทจะมี VAT อยู่ 6.54 บาท
โดยคำนวณมาจาก 100 – (100 x 100 ÷ 107) = 6.54 บาท
ข้อมูลอ้างอิง
- ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม