ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) คือหนึ่งในภาษีหนึ่งที่ได้ยินกันบ่อย ๆ มาดูกันว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่จะหักทันทีตอนที่จ่าย (หักทันทีที่มีรายได้ตามชื่อ) เป็นการหักภาษีล่วงหน้าจำนวนหนึ่งตามชื่อ ทำให้ผู้ที่เสียภาษีไม่ต้องยื่นภาษีในตอนท้ายเป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียว (ซึ่งผู้ที่ต้องจ่ายภาษีอาจจะไม่มีจ่าย และเกิดปัญหาตามมาได้ภายหลัก)
ในทางกลับกัน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ก็จะช่วยให้รัฐมั่นใจได้ว่าจะได้ภาษีนี้มาพัฒนาประเทศก่อนส่วนหนึ่งแน่ ๆ
โดยผู้ที่หักภาษีไว้ จะต้องนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 เดือนถัดไป (ถ้าติดวันหยุดให้เลื่อนไป)
ใช้แบบ ภ.ง.ด. 3 สำหรับภาษีที่หักจากบุคคลธรรมดา
ใช้แบบ ภ.ง.ด. 53 สำหรับภาษีที่หักจากนิติบุคคล
หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร?
ตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัท A มีเงินเดือน เดือนละ 30000 บาท
ทุก ๆ ครั้งที่บริษัท A จ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนนั้น บริษัทก็จะหักเงิน 5% จากเงินเดือนของพนักงาน (1500 บาท) เพื่อนำส่งภาษี พร้อมกับออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้พนักงานคนนั้น นำไปใช้ยื่นภาษีตอนท้ายปี
ทางด้านพนักงานคนดังกล่าวก็จะไม่ต้องจ่ายภาษีเต็ม ๆ ตอนท้ายปี เพราะบางส่วนจ่ายไปแล้วตอน หัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์
ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ ของการ หัก ณ ที่จ่าย จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของเงินได้ ดังนี้
ค่าขนส่ง (บริษัทขนส่ง ที่ไม่ใช่ของรัฐบาล) อัตราร้อยละ 1
ค่าโฆษณา (การรับโฆษณา) อัตราร้อยละ 2
งานบริการ อัตราร้อยละ 3
ค่าเช่า เงินรางวัลต่างๆ เงินเดือน รับจ้างทำงาน อัตราร้อยละ 5
เงินปันผล อัตราร้อยละ10
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นข้อมูลต้นปี 2562 แนะนำให้เช็คกับเว็บสรรพากรอีกครั้งสำหรับการเปลี่ยนแปลง