มิติทางวัฒนธรรม Kluckhohn-Strodtbeck คืออะไร?
มิติทางวัฒนธรรม ของ Kluckhohn และ Strodtbeck หรือ Kluckhohn-Strodtbeck Framework จะแบ่งโครงสร้างทางวัฒนธรรมออกเป็น 5 มิติทางวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวคิดในทิศทางเดียวกับแนวคิดด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ คือใช้ในการทำความเข้าใจว่าพฤติกรรมของผู้คนมีมาจากไหนและตอบสนองอย่างไร
โดยมิติทางวัฒนธรรมทั้ง 5 ของ Kluckhohn-Strodtbeck ได้แก่
- Temporal Orientation
- Man-Nature Relationship
- Human Nature
- Activity
- Relational
มิติทางวัฒนธรรมของ Kluckhohn-Strodtbeck หรือ Kluckhohn-Strodtbeck Framework ทั้ง 5 มิติจะมีแนวคิดที่คล้ายกับแนวคิดมิติทางวัฒนธรรมของ Trompenaars และแนวคิดเกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรม Hofstede จึงเป็นเหตุผลทีทำให้มิติทางวัฒนธรรมของ Kluckhohn-Strodtbeck ไม่ค่อยถูกพูดถึง
Temporal Orientation
Temporal Orientation คือ มิติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการให้ความสำคัญในเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม
- บางวัฒนธรรมอาจให้ความสำคัญกับอดีต อย่างเช่น จารีตประเพณีเก่า ๆ และบรรพบุรุษ
- บางวัฒนธรรมอาจจะให้ความสำคัญกับในเรื่องปัจจุบันเป็นหลัก อะไรที่ผ่านมาก็แล้วไป
- บางวัฒนธรรมจะระมัดระวังและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องในอนาคต
Man-Nature Relationship
Man-Nature Relationship คือ มุมมองเกี่ยวกับความเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถกำหนดหรือควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน (มนุษย์ หรือ ธรรมชาติเป็นผู้กำหนด)
ในบางวัฒธรรมจะเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะกำหนดชีวิตของตัวเองได้ตามต้องการ ในขณะที่บางวัฒนธรรมเชื่อว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติมนุษย์ทำได้เพียบปรับตัวอยู่ร่วมกับสิ่งที่เกิดขึ้น (ไปแล้ว)
Human Nature
Human Nature คือ มุมมองในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เป็นมุมมองต่อคนอื่นและความไว้ใจต่อผู้อื่น โดยทั่วไปผู้คนจะมองคนอื่นต่างกันเป็น 3 แบบ คือ
- เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไว้ใจไม่ได้ต้องควบคุม
- เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ดีไว้ใจได้ไม่ต้องควบคุม
- เชื่อว่าคนมีดีและไม่ดีปะปนกันไป ทำให้ต้องพิสูจน์ก่อนจะตัดสิน
Activity
Activity คือ มิติทางวัฒนธรรมที่สะท้อนในประเด็นเกี่ยวกับมุมมองในเรื่องความสำเร็จที่ต่างกัน
ในบางวัฒนธรรมจะให้ความสำคัญต่อความสำเร็จทางโลก อย่างเช่น เงินทอง ชื่อเสียง หน้าที่การงาน และการได้รับการยอมรับ
ในขณะที่บางวัฒนธรรมจะให้ความสำเร็จทางด้านความรู้สึก อย่างเช่น ความสุขในการใช้ชีวิต ให้ความสำคัญกับการใช้เวลากับครอบครัว (งานเอาไว้ทีหลัง) และความสุขในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องหน้าที่การงาน
Relational
Relational คือ มิติทางวัฒนธรรมด้านความสัมพันธ์ในสังคม โดยจะแยกออกเป็นสังคมแบบปัจเจกบุคคล (Individual) กับสังคมที่นิยมรวมกลุ่มกัน (Collective)
ในสังคมแบบ Collective ผู้คนจะใช้ชีวิตรวมกันเป็นกลุ่มและมุ่งเน้นไปที่การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน และในกรณีการทำงานก็จะเน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจในระยะยาว และเน้นการตัดสินใจของทีม
ในขณะที่สังคมแบบปัจเจกบุคคล (Individual) ผู้คนจะใช้ชีวิตคนเดียว มีความแตกต่างและมั่นใจในตัวเอง และไม่เน้นสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากเกินจำเป็น