หลายครั้งที่ได้ยินคำว่า รัฐวิสาหกิจ รู้หรือไม่ว่า รัฐวิสาหกิจ คือ อะไร ? และมีบริษัทอะไรบ้างที่เป็น รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการที่เป็นการร่วมทุนกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชน โดยที่รัฐบาลเป็นฝ่ายถือหุ้นมากกว่า เพื่อที่จะได้มีอำนาจในการควบคุมรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
หรือ รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัทที่เอกชนร่วมกับรัฐบาล โดยที่รัฐบาลถือหุ้นมากกว่าครึ่ง หรือมากกว่า 50%
สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมในธุรกิจเหล่านี้ เหตุผลแรกมาจากการที่ ธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจในลักษณะผูกขาด อย่างเช่น ท่าอากาศยานไทย ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสนามบิน เจ้าของสนามบินใหญ่หลายแห่งของไทย
อีกเหตุผลคือเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ระบบสาธารณูปโภค และ โครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ ทำให้รัฐจำเป็นต้องเข้าไปควบคุม อย่างเช่น การไฟฟ้า การปะปา การรถไฟ เป็นต้น
รัฐวิสาหกิจไทย ที่คุ้นเคย
หลายคนอาจคุ้นเคยกับรายชื่อบริษัทเหล่านี้อยู่บ้าง แต่รู้กันมาก่อนหรือไม่ว่าบริษัทเหล่านี้เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่ง
อีกทั้ง หลายบริษัทยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยอีกด้วย
มาดูกันว่าบริษัทอะไรบ้างที่เป็น รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) จากตัวอย่าง 20 บริษัท ด้านล่าง
ตัวอย่าง บริษัทที่เป็น รัฐวิสาหกิจไทย
- การเคหะแห่งชาติการไฟฟ้านครหลวง
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การประปานครหลวง
- การประปาส่วนภูมิภาค
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น KTB
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น THAI
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น AOT
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น PTT
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น MCOT
- โรงงานไพ่
- โรงงานยาสูบ
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 20 บริษัท ที่ยกมายังไม่ใช่รายชื่อของ รัฐวิสาหกิจไทย ทั้งหมด
สามารถดูรายชื่อของ รัฐวิสาหกิจไทย ทั้งหมดได้ที่ ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ
หรือ ไปที่ลิ้งนี้ http://www.oic.go.th/ginfo/page2.asp?i=007