วัฒนธรรมย่อย คือ รูปแบบหนึ่งของวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมย่อยหรือ Subculture จะเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มย่อยของคนกลุ่มหนึ่งที่แทรกอยู่ในวัฒธรรมหลักหรือวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ ซึ่งวัฒนธรรมย่อย (Subculture) จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่มย่อย
สำหรับสิ่งที่สามารถนับได้ว่าเป็น Subculture หรือ วัฒนธรรมย่อย คือ ความเชื่อ แนวคิด ค่านิยม และรูปแบบวิถีชีวิต ของคนกลุ่มหนึ่งที่จะแตกต่างกันออกไปตามกลุ่มของพวกเขา ซึ่งมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมหลัก
สรุปง่ายๆ Subculture หรือ วัฒนธรรมย่อย คือ วัฒนธรรมของกลุ่มเล็กที่สอดแทรกอยู่ในวัฒนธรรมใหญ่ อย่างเช่น แนวปฏิบัติของคนกลุ่มหนึ่งที่แทรกอยู่ในวัฒธรรมองค์กร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปจนวัฒธรรมย่อย (Subculture) ก็อาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมหลักได้เช่นกัน และเมื่อถึงจุดนั้นสิ่งที่เคยเป็นวัฒนธรรมหลักก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยแทน
ตัวอย่าง วัฒนธรรมย่อย
ตัวอย่าง วัฒนธรรมย่อย หรือ Subculture ที่ง่ายที่สุดและพบได้จริงในชีวิตประจำวัน คือ วัฒนธรรมย่อย ที่แทรกอยู่ภายในวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ของแต่ละองค์กร
ตัวอย่างเช่น ในบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรเหมือนกับวัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นทั่วไป อย่างการทุ่มเททำงานจนดึกดื่น จริงจังกับงาน และให้ความสำคัญกับลำดับออาวุโส เราจะเรียกวัฒนธรรมองค์กรเหล่านี้ว่าวัฒนธรรมหลัก
แต่ในแผนกการตลาดของบริษัทญี่ปุ่นแห่งนั้น มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจากพนักงานรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาตลอดหลายปี โดยจะมีการพาพนักงานคนใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเข้ามาในแผนกไปเลี้ยงอาหารญึ่ปุ่น โดยคนเลี้ยงคืออพนักงานคนก่อนหน้าคนล่าสุดจะเป็นคนจ่ายเงินเลี้ยงค่าอาหารพนักงานใหม่ เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ของพนักงานในแผนก
ซึ่งธรรมเนียมการพาพนักงานใหม่ไปเลี้ยงที่สืบทอดกันมาในตัวอย่างด้านบนก็คือ วัฒนธรรมย่อย หรือ Subculture นั่นเอง
อีกตัวตัวอย่างสำหรับใครที่กำลังศึกษาหรือผ่านการเรียนมหาวิทยาลัยในไทย ที่หากเคยถ้าสังเกตจะเห็นว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยของไทย แต่ละคณะจะมีรูปแบบกิจกรรมการรับน้องใหม่ในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละคณะ
ตัวอย่างเช่น คณะพยาบาลจะใช้วิธีไม่เหมือนกับคณะบริหาร ในขณะที่แต่ละสาขาหรือเมเจอร์ก็จะมีวิธีรับน้องที่แตกต่างกันไป เช่น ในคณะบริหาร สาขาบัญชีกับสาขาการจัดการก็จะมีวิธีและแนวปฏิบัติที่ต่างกัน
จากตัวอย่าง ความแตกต่างของแแต่ละคณะและในแต่ละสาขาวิชา ก็นับว่าเป็นวัฒนธรรมย่อย (Subculture) ที่แทรกอยู่ในวัฒนธรรมการรับน้องของมหาวิทยาลัยนั้น
ในทางกลับกันในคณะหรือสาขาที่ไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมรับน้อง จึงไม่จัดกิจกรรมรับน้อง ในกรณีนี้ก็สามารถนับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมย่อยได้อีกเช่นกัน ไปจนกว่าวัฒนธรรมหลักจะมองว่าการรับน้องเป็นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นและเลิกจัดไปในที่สุด ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นกิจกรรมรับน้องก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยแทน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่เราพูดถึงในบทความนี้แบบละเอียดได้ที่บทความ วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร