วิกฤตโควิด 19 ที่รุนแรงขึ้นทำให้หลายคนกังวลว่า วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา บทความนี้จะอธิบายว่าทำไม วิกฤตโควิด 19 คือ สิ่งที่สามารถเป็นจุดเริ่มต้น วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 ได้?
วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 คือ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่หลายคนกลัวว่าจะเกิดขึ้นตามมาจากการปิดเมืองเพื่อรับมือ วิกฤตโควิด 19 ที่กินระยะเวลานานเกินไป เพราะการปิดเมืองแลกมาด้วยการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักเนื่องจากผู้บริโภคไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้
แต่การปิดเมืองเพื่อรับมือสถานการณ์ วิกฤตโควิด คือ สิ่งที่ยังจำเป็นจะต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพื่อหยุดตัวเลขผู้ติดเชื้อให้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งสิ่งนี้เองที่อาจเปลี่ยนให้ วิกฤตโควิด 19 กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ในปี 2020 หรือ 2021
เพราะการปิดเมือง (Lock Down) เพื่อควบคุม วิกฤตโควิด 19 คือ สิ่งที่ส่งผลให้ไม่มีความต้องการซื้อเกิดขึ้น ไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการบริการ หรือในอีกความหมายคือธุรกิจไม่สามารถขายสินค้าได้และไม่อยากลงทุน โดยผลที่อาจตามมาคือปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจที่อาจนำไปสู่ปัญหาการการจ้างงานที่ลดลง เมื่อไม่มีการจ้างงานก็จะส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงตาม
จุดสำคัญที่อาจทำให้ วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 เกิดขึ้นได้ (และทำให้หลายคนกังวลว่าจะเกิด) คือประเด็นที่วิกฤติโควิด 19 มีแนวโน้มอย่างมากที่จะลากยาวและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดได้ง่ายและแสดงอาการช้า ทำให้โอกาสที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นไปได้ง่าย และเมื่อสถานการณ์ไม่สงบลงง่ายๆ ก็ยิ่งทำให้การปิดเมืองกินเวลานานขึ้น
ออกตัวก่อนว่า: เราเองก็ไม่รู้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 จะเกิดขึ้นหรือไม่ บทความนี้จะอธิบายในกรณีที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าถ้าหาก วิกฤตโควิด 19 จะเป็นจุดเริ่มต้นของ วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 จะเกิดขึ้นในลักษณะแบบไหน
วิกฤตโควิด 19 กลายเป็น วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 ได้ยังไง
วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อเศรษฐกิจหยุดชะงักนานเกินไปจากวิกฤติโควิด 19 ซึ่งคำว่านานในที่นี้คือนานเกินกว่าเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจเหลืออยู่จะไม่พอและทำให้ธุรกิจจำนวนมากล้มลง
เพราะในขณะที่ธุรกิจไม่มีรายได้เกิดขึ้นหรือรายได้ลดลงอย่างมาก ต้นทุนคงที่ หนี้สิน และดอกเบี้ย ยังเป็นสิ่งที่ไม่ได้หายไปไหนและยังคงเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายเหมือนเดิมเมื่อถึงเวลา
เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจกลไกที่นำไปสู่ วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 เราจะเรียงลำดับ (แบบบง่ายๆ) ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและเศรษฐกิจระหว่างการปิดเมือง (Lock Down) โดยสิ่งที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกันเป็นลำดับดังนี้
- ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คนไม่ใช้เงิน ธุรกิจขายสินค้าไม่ได้ แต่หนี้และต้นทุนที่ต้องจ่ายทุกเดือนยังอยู่
- ในช่วง 2-3 เดือนแรกบริษัทอาจจะยังพอทนภาวะขาดสภาพคล่องไหว (ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและลักษณะธุรกิจ)
- แต่เมื่อไหร่ที่รู้สึกเริ่มทนไม่ไหวก็จะเริ่มลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ลดโอที ลดวันทำงาน สั่งให้พนักงานหยุดโดยไม่จ่ายชดเชยหรือจ่ายครึ่งเดียว และปลดตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็น
- จากข้อ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ “คนทั่วไป” จะมีรายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้
- เมื่อรายได้ลดลง คนก็จะยิ่งไม่อยากใช้เงิน หรือ ไม่มีเงินให้ใช้ยิ่งกว่าเดิม
- จากข้อ 5 ก็จะยิ่งทำให้ข้อ 1 ที่บอกว่าธุรกิจขายสินค้าไม่ได้ยิ่งขายได้ยากขึ้นไปอีก (เพราะไม่มีเงินซื้อ)
- หลังจากนั้นข้อ 2 ถึงข้อ 6 ก็จะรุนแรงขึ้นแบบทวีคูณวนซ้ำไปเรื่อยๆ มาถึงตรงนี้บริษัทที่ไม่ไหวก็จะจ่ายหนี้ไม่ไหวและล้มละลายหรือเลิกกิจการในที่สุด (ซึ่งก็จะทำให้มีคนว่างงานเพิ่มอีก)
เมื่อธุรกิจล้มละลายและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบลำดับถัดมาคือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้จากการที่หนี้ก้อนดังกล่าวจะกลายเป็น 0 (หรือได้คืนไม่ครบ) หรือที่เรียกกันว่าหนี้เสีย (NPL)
และอย่างที่หลายคนน่าจะเริ่มเดาออก โอกาสเกิด วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 จะมากขึ้นเมื่อปัญหาวิกฤตโควิดรุนแรงขึ้นและไม่จบในระยะสั้น ประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี เพราะยิ่งผ่านไปนานบริษัทก็จะยิ่งทนไม่ไหวเนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนจากการที่ไม่มีรายได้
เมื่อถึงจุดที่บริษัทจำนวนมากทนไม่ไหว บริษัทก็จะเริ่มล้มพร้อมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจุดนี้จะทำให้หนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และเมื่อไหร่ก็ตามที่หนี้เสียพุ่งขึ้นจนสถาบันการเงินรับไม่ไหว ในที่สุดสถาบันการเงินก็จะล้มลงในที่สุด
เมื่อสถาบันการเงินล้มสิ่งที่ตามมาคือเงินฝากก็จะหายไปในพริบตา ตรงนี้ก็จะยิ่งทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยิ่งลดลงเข้าไปอีก (ถ้าโชคดีก็จะได้คืนเท่าที่กฎหมายคุ้มครองประมาณ 1 ล้านบาท) อีกทั้งยังทำให้คนมองว่าสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นจนไม่อยากใช้เงินมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การที่ธนาคารแรกล้มยังส่งผลให้คนทั่วไปเริ่มหวาดระแวงมากขึ้นจนรีบไปถอนเงินจากธนาคารคารเพราะกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่การแห่ไปถอนเงินในช่วงที่ขาดสภาพคล่องคือสิ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหาสภาพคล่องรุนแรงยิ่งกว่าเดิมจนอาจทำให้ธนาคารล้มตามมาอีกก็ได้
เมื่อกำลังซื้อของคนทั่วไปแย่ลงในระดับหนึ่งจนทำให้คนไม่อยาก/ไม่สามารถซื้อสินค้าได้ (ตามที่อธิบาย) จะทำให้ระดับราคาของสินค้าจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ ตาม Law of Demand หรือที่เราเรียกสถานการณ์แบบนี้ว่าภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งระดับราคาสินค้าที่ลดลงและความไม่อยากซื้อนี้เองคือสิ่งที่จะยิ่งซ้ำเติมภาคธุรกิจแบบวนลูปไปซักพักจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
หนี้มีอยู่มากขนาดไหน
มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะเริ่มจับทางได้แล้วว่า วิกฤตโควิด เป็นเพียงตัวกระตุ้นปัญหา “หนี้มหาศาล” ที่เรื้อรังมาตั้งแต่ช่วงหลัง Subprime 2008 ให้กลายเป็นหนี้สูญ ซึ่งหนี้เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่จะนำไปสู่ วิกฤตเศรษฐกิจ 2020
ในปัจจุบันประเทศที่มีหนี้สูงที่สุดคือสหรัฐอเมริกาที่ในปัจจุบันมีหนี้อยู่ประมาณ 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 109% ของ GDP สหรัฐอเมริกา (มากกว่าช่วง Subprime Crisis สองเท่า) เรียกได้ว่าเป็นปริมาณหนี้ที่คิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าจะใช้ยังไงให้หมด
ตรงคือเหตุผลที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) พยายามงัดนโยบายการเงินระยะสั้นออกมาประคองเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อรั้งไม่ให้หนี้มหาศาลจำนวนนี้เกิดปัญหาขึ้นมา
เพราะถ้าหากล้มลงมาจะยิ่งทำให้ วิกฤตโควิด 19 ที่กำลังระบาดแย่ยิ่งขึ้นไปอีกจากการมี วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 ที่เกิดจากหนี้มาเป็นอาการแทรกซ้อน

และสำหรับหนี้ครัวเรือนของสหรัฐอเมริกาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 75% ของ GDP สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเช่นกัน
นอกจากนี้ ถ้าหากสหรัฐฯ มีปัญหาหนี้อย่างที่อธิบายในตอนต้น แล้วเกิดล้มในเวลานี้ เรื่องจะไม่จบแค่ในสหรัฐอเมริกา เพราะตอนนี้ทั่วโลกต่างถือเงินดอลลาร์ การที่เกิดวิกฤตจนเงินสหรัฐฯ ด้อยค่าลงหมายความว่ากำลังซื้อของคนทั่วโลกและธนาคารกลางทั่วโลกก็จะลดลงจากเงินดอลลาร์ที่ถือ
จากที่อธิบายมาทั้งหมด ถ้าหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า Fed กลัวหนี้ก้อนนี้ทำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล้มขนาดไหน ก็ต้องบอกว่าสิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำตลอดเดือนมีนาคมเป็นสิ่งที่ปกติเราต้องใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปีกว่าเราจะได้เห็นมาตรการทั้งหมดถูกนำมาใช้จนครบ
ปัญหาหนี้ของไทย
สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยไม่ได้เยอะขนาดสหรัฐฯ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 41% ของ GDP (ข้อมูลอัพเดท ก.พ. 63) ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้สูงเหมือนกับสหรัฐฯ
แต่ปัญหาหนี้ของไทยที่น่ากลัวคือปัจจุบันไทยมีหนี้ครัวเรือนมีอยู่ประมาณ 80% ของ GDP (ประมาณ 13 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562) และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค รองลงมาเป็นหนี้ผ่อนบ้านและผ่อนคอนโดเพื่อการอยู่อาศัยและการเก็งกำไร
การที่หนี้ส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภคไม่ใช่หนี้เพื่อการลงทุน (ลงทุนจริงๆ ไม่ใช่การเก็งกำไร) หมายความว่าคนที่ก่อหนี้ไม่ได้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากการก่อหนี้ดังกล่าว และเมื่อผู้ก่อหนี้ขาดสภาพคล่องสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็จะไม่ต่างจากกรณีของบริษัทตามที่อธิบายด้านบน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับประเทศไทยหรือประเทศอเมริกา แต่เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลกที่ไม่สามารถจบปัญหา COVID-19 ได้ในระยะเวลาสั้นๆ
และจะเกิดในลักษณะเดียวกันทั้งหมด ต่างกันแค่สัดส่วนหนี้ในแต่ละประเทศที่จะทำให้ความรุนแรงต่างกัน) ซึ่งถ้าหาก วิกฤตโควิด 19 ลามไปเป็น วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 ก็จะกลายเป็นครั้งแรกที่วิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นพร้อมกันและรับผลแบบเดียวกันทั่วโลก
ดังนั้นถ้าหากว่า วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 ที่น่าจะชื่อว่า วิกฤตโควิด 19 (หรือ COVID-19 Crisis) เกิดขึ้นจากปัญหาหนี้จริง แน่นอนว่าจะรุนแรงมากกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 และ Subprime Crisis เมื่อปี 2008 แบบไม่ต้องสงสัยจากจำนวนหนี้มหาศาลที่แต่ละประเทศมีอยู่

ถึงแม้ว่า วิกฤติเศรษฐกิจ 2020 (ที่อาจเกิดขึ้น) จะมีต้นเหตุที่แตกต่างจากวิกฤตในอดีตไม่ว่าจะเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Subprime Crisis) หรือวิกฤตต้มยำกุ้งของไทยเมื่อปี 2540 แต่สุดท้ายจุดร่วมที่เหมือนกันคือปัญหาจากหนี้ เพียงแต่ในครั้งนี้สิ่งที่อาจทำให้หนี้มีปัญหาก็คือการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั่นเอง
สรุป วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือไม่
จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 คือ สิ่งที่จะตามมาจาก วิกฤตโควิด หรือ วิกฤต COVID-19 จนกลายเป็น วิกฤตการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่หรือไม่ เพราะเราไม่รู้ว่าการระบาดของ COVID-19 จะจบลงในกี่เดือน
อย่างในวันที่ปล่อยบทความนี้ เราก็ยังไม่ได้วิธีรักษา COVID-19 ที่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตโควิดได้ภายในระยะสั้นๆ ในทางกลับกันจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกกำลังเพิ่มเร็วขึ้นเรื่อยๆ (ผู้ติดเชื้อ ณ ตอนนี้ทะลุล้านรายไปแล้ว)
แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 จะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ก็ยังแนะนำให้จับตามองเหตุการณ์สำคัญที่จะประเด็นที่ทำให้ วิกฤตโควิด 19 กลายเป็น วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 เพื่อที่อย่างน้อยจะได้รู้ว่า ณ ตอนนั้นเราอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจแล้วหรือยัง โดยมีเหตุการณ์ต่อไปนี้
- บริษัทใหญ่ชื่อดังเริ่มล้มละลาย (จะยิ่งชัดเจนเมื่อมีบริษัทที่ 2 3 4 ตามมาจนรัฐต้องรีบเข้ามาอุ้ม)
- การผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจที่เริ่มเกิดขึ้นพร้อมกันมากขึ้น
- การจ้างงานลดลงอย่างรุนแรงติดต่อกันหลายเดือน (คนตกงานมากขึ้นเรื่อยๆ)
- นโยบายการเงินเริ่มไม่ได้ผลอย่างชัดเจน (เพราะคนเริ่ม Panic)
- การปิดเมืองเริ่มกินระยะเวลานานขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สถานการณ์ไม่ใกล้เคียงคำว่าคลี่คลาย (6-12 เดือนขึ้นไป)
- จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่
ถ้าหากเงื่อนไขเหล่านี้เกิดขึ้น 4 ใน 6 ก็พอจะเรียกได้แล้วว่าเรากำลังอยู่ในจุดที่น่ากลัว ที่อาจทำให้ วิกฤตโควิด คือ จุดเริ่มต้นของ วิกฤตเศรษฐกิจ 2020
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สุดท้าย วิกฤตโควิด 19 หรือ วิกฤตโคโรน่า ไม่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงจนกลายเป็น วิกฤตเศรษฐกิจ 2020 แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือ Recession อย่างแน่นอน (เพียงแต่เรายังไม่สามารถคาดเดาความรุนแรงได้)
ถ้าคุณอยากเข้าใจปัญหาว่าทำไมต้องมีหนี้และทำไมหนี้กลายเป็นปัญหา ลองดู How the Economic Machine Work เพื่อทำความเข้าใจว่าหนี้มันสำคัญยังไงกับระบบเศรษฐกิจ และอ่านเกี่ยวกับกลไกของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis) ในอดีตเพิ่มเติมได้ที่บทความ วิกฤตเศรษฐกิจ คืออะไร?
ข้อมูลหนี้สาธารณะของไทยอ้างอิงจาก สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ส่วนข้อมูลหนี้สาธารณะของสหรัฐอ้างอิงจากเว็บไซต์ Federal Reserve สาขา St Louis