คำนวณภาษี คือ ปัญหาของผู้มีเงินได้หลายคนมาโดยตลอด โดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งเคยเสียภาษีเป็นครั้งแรก เนื่องจากขั้นตอน คำนวณภาษีเงินได้ ค่อนข้างซับซ้อนจากการที่ การคำนวณภาษี แบบขั้นบันไดจะไม่ได้นำรายได้มาคูณอัตราภาษี
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของไทยในปัจจุบันจะคำนวณด้วย 2 หลัก คือ การคำนวณภาษีแบบเงินได้สุทธิและแบบเงินได้พึงประเมิน โดยวิธีคำนวณภาษีที่สร้างความสับสนมาโดยตลอดคือวิธีเงินได้สุทธิ เนื่องจาก มีความซับซ้อนจากการหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และการคูณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่การนำเงินได้ไปคูณตรงๆ
ในส่วนของวิธีคำนวณภาษีด้วยหลัก เงินได้พึงประเมิน คือ วิธีคำนวณภาษีเงินได้ สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ไม่ใช่เงินได้ประเภทที่ 1 มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการนำเงินได้พึงประเมิน x 0.50% ตรงๆ แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับวิธีเงินได้สุทธิ แล้วให้จ่ายภาษีตามตัวเลขจากวิธีที่ได้มากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบไม่สนใจ วางแผนภาษี) คุณไม่จำเป็นที่จะต้องมาคำนวณภาษีด้วยขั้นตอนเหล่านี้ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัว ตัวเลขรายได้ และค่าลดหย่อนลงไประบบก็จะคำนวณให้อัตโนมัติอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ทำให้คุณควรที่จะ คำนวณภาษี ได้ด้วยตัวเอง คือ การทำให้เห็นได้ล่วงหน้าว่าปีนี้ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้สามารถวางแผนลดหย่อนภาษี เพื่อที่จะทำให้เงินที่จ่ายไปคุ้มค่าที่สุด เช่น ซื้อประกัน ซื้อกองทุน และใช้เงินกับนโยบายอื่นๆ แทนที่จะจ่ายภาษีเต็มๆ
คำนวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (วิธีขั้นบันได)
วิธีคิดภาษีเงินได้ ด้วยวิธีขั้นบันไดจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ หักค่าใช้จ่าย > หักค่าลดหย่อน > คำนวนภาษี แยกส่วนตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแต่ละขั้นตอนในการคำนวณภาษีจะมีรายละเอียดดังนี้:
ขั้นที่ 1 หักค่าใช้จ่าย
ขั้นแรก เริ่มจากดูว่าคุณมีเงินได้พึงประเมินอะไรบ้าง แล้วทำการหักค่าใช้จ่ายแยกกันตามประเภทของเงินได้พึงประเมินซึ่งแต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยวิธีและจำนวนที่แตกต่างกัน
- อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทและวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบละเอียดได้ที่บทความ เงินได้พึงประเมิน คืออะไร? และวิธีหักค่าใช้จ่าย
ขั้นที่ 2 หักค่าลดหย่อน เท่าที่หักได้
หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายจากขั้นก่อนหน้าแล้ว ในขั้นนี้ให้นำเงินได้ที่เหลือมาหักค่าลดหย่อน ตามสิทธิลดหย่อนภาษีที่คุณมี ซึ่งโดยทั่วไปเกือบทุกคนจะมีค่าลดหย่อน 2 รายการนี้ คือ
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ที่ทุกคนมีติดตัวโดยไม่ต้องทำอะไร
- ค่าประกันสังคมตามที่จ่ายจริง (สูงสุดปีละ 9,000 บาท) สำหรับพนักงานเงินเดือน ซึ่งจะรู้ได้ว่าหักค่าประกันสังคมไปเท่าไหร่ให้กูจากหนังสือรับรองที่จ่ายที่บริษัทออกให้
- สามารถดูรายละเอียดค่าลดหย่อนภาษีแบบละเอียดได้ที่บทความ ค่าลดหย่อนภาษี คืออะไร? ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร
ขั้นที่ 3 คำนวณภาษี ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคำนวณภาษี จะคำนวณด้วยอัตราภาษีแบบขั้นบันไดที่อัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อรายได้มากขึ้น โดยจะต้องคำนวณแยกกันในแต่ละขั้นของเงินได้ ไม่ใช่การนำอัตราภาษีมาคูณตรงๆ
- ตัวอย่างที่ผิด เงินได้สุทธิ 1,500,000 บาท วิธีคำนวณภาษี ที่ไม่ถูกต้องคือการนำ 1,500,000 บาท x 25%
วิธีที่ถูกคือต้องก่อนว่า เงินได้สุทธิ 1,500,000 บาทอยู่ในกี่ขั้นเงินได้สุทธิ จากตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเห็นว่าเงินได้สุทธิ 1,500,000 บาทอยู่ใน 6 ขั้นภาษี จากนั้นให้คำนวณแยกกันในแต่ละขั้นดังนี้
150,000 บาทแรก (จาก 1 ล้านห้าแสน) ได้รับการยกเว้นภาษี = 0 บาท
150,000 บาทที่ 2 (จาก 1 ล้านห้าแสน) อัตราภาษี 5% = 150,000 x 5% = 7,500 บาท
200,000 บาทต่อมาในขั้นที่ 3 อัตราภาษี 10% = 20,000 บาท
250,000 บาทต่อมาในขั้นที่ 4 อัตราภาษี 15% = 37,500 บาท
250,000 บาทต่อมาในขั้นที่ 5 อัตราภาษี 20% = 50,000 บาท
ตอนนี้จะเหลืออีก 500,000 บาทสุดท้ายที่ยังไม่ได้คำนวณภาษี ซึ่ง 500,000 สุดท้ายอยู่ในขั้นที่ 6 อัตราภาษี 25% = 500,000 x 25% = 125,000
แล้วนำภาษีที่ได้จากการคำนวณแยกในแต่ละขั้นมารวมกัน จะได้เป็น 0+7500+20000+37500+50000+125000 = 240,000 คือภาษีที่ต้องจ่าย
อัตราภาษีก้าวหน้าหรือที่เรียกว่าอัตราภาษีขั้นบันได สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จากตาราง อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) จะเห็นว่าอัตราภาษีที่ใช้ คำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจะเปลี่ยนไปตามเงินได้สุทธิ เหมือนกับขั้นบันไดซึ่งเป็นที่มาของชื่อ อัตราภาษีขั้นบันได นั่นเอง
ตัวอย่าง คำนวณภาษีเงินได้
สมมติว่า นางสาว A เป็นโสดมีรายได้ทั้งปีจากงานประจำเป็นเงินเดือนรวมทั้งปี 500,000 บาท จ่ายประกันสังคมไปทั้งหมด 9,000 บาท นอกจากนี้นางสาว A ยังมีรายได้เสริมจากการให้เช่าคอนโดทั้งปีเป็นเงิน 120,000 บาท และในปีภาษีนี้นางสาว A ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF ทั้งหมด 50,000 บาท
มาดูกันว่า จากเงินได้รวมทั้งหมดของนางสาว A 620,000 บาท จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าไหร่หลังจาก คำนวณภาษี
ขั้นแรก หักค่าใช้จ่ายทุกเงินได้
เงินได้จากเงินเดือนทั้งปี 500,000 บาทของนางสาว A (เงินได้พึงประเภทที่ 1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
500,000 x 50% = 250,000 บาท แต่กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000
ดังนั้น เงินได้ประเภทที่ 1 ของนางสาว A ในส่วนของเงินเดือนเหลือ 400,000 บาท (500,000 – 100,000 = 400,000)
รายได้จากการให้เช่าคอนโด 120,000 บาท (เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5) หักค่าใช้จ่ายได้ 30%
ดังนั้น เงินได้จากการให้เช่าคอนโดเหลือ 84,000 บาท (120,000 – 36,000 = 84,000)
สรุป เงินได้ทั้งปีของนางสาว A หลังหักค่าใช้จ่าย คือ 484,000 บาท
ขั้นที่ 2 หักค่าลดหย่อน
สิทธิค่าลดหย่อนที่นางสาว A ได้รับในปีนี้มี 3 รายการ คือ ค่าประกันสังคม 9,000 บาท การซื้อกองทุน RMF 50,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัวที่ทุกคนได้รับโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว 60,000 บาท
การซื้อกองทุน RMF 50,000 บาท สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนเกี่ยวกับกองทุนอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น เงินที่ซื้อกองทุน RMF ของนางสาว A ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 50,000 บาท (ยังไม่เกิน 15% ของ 620,000 บาท)
ดังนั้น เงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนของนางสาว A หรือเงินได้สุทธิ= 484,000 – 60,000 – 9,000 = 415,000 บาท
ขั้นที่ 3 คำนวณภาษีด้วยอัตราก้าวหน้า
เมื่อดูจากตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้านบน รายได้ของนางสาว A คือ 415,000 ต้องคิด 3 ครั้ง (แบ่งเป็น 3 ก้อนตามแต่ละช่วงของภาษี) เพราะรายได้ของนางสาว A อยู่ใน 3 ช่วงภาษี คำนวณภาษี ได้ดังนี้
1) 150,000 บาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ในขั้นนี้จึงเสียภาษี 0 บาท (เหลืออีก 265,000 บาท)
2) 150,000 บาทที่สอง อยู่ในช่วงที่ต้องเสียภาษีด้วยอัตราภาษี 5% ทำให้นางสาว A ต้องเสียภาษี 7,500 บาท (เหลืออีก 115,000 บาท)
3) 115,000 บาทสุดท้าย อยู่ในช่วงเงินได้ระหว่าง 300,001 ถึง 500,000 ต้องเสียภาษี 10% ทำให้นาย A ต้องเสียภาษี 11,500 บาท (115,000 บาท x 10%)
สรุป ภาษีที่นางสาว A ต้องจ่ายทั้งหมดหลังจาก คำนวณภาษี เท่ากับ 0+7500+11,500 = 19,000 บาท