GreedisGoods » Accounting » สินค้าระหว่างทาง คืออะไร? และวิธีบันทึกบัญชี Goods in Transit

สินค้าระหว่างทาง คืออะไร? และวิธีบันทึกบัญชี Goods in Transit

by Kris Piroj
สินค้าระหว่างทาง คือ Goods in Transit คือ บัญชี

สินค้าระหว่างทาง คือ สินค้าที่อยู่ในขั้นตอนการส่ง ตามความหมายของชื่อสินค้าระหว่างทาง (Goods in Transit) เนื่องจากหลายครั้งการสั่งซื้อสินค้าต้องใช้เวลาขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าที่สั่งจากต่างประเทศที่อาจใช้เวลาในการขนส่งมากถึง 2-4 สัปดาห์

สำหรับสินค้าระหว่างทางความหมายอาจทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ปัญหาของสินค้าระหว่างทาง (Goods in Transit) คือ แล้วเราจะต้องบันทึกบัญชีของสินค้าที่อยู่ระหว่างทางเหล่านี้หรือไม่ และถ้าบันทึกจะต้องบันทึกบัญชีสินค้าเหล่านี้อย่างไร

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับว่าสินค้าระหว่างดังกล่าวมีเงื่อนไขการซื้อขายอย่างไร โดยพิจารณาจากกรรมสิทธิ์ในสินค้าระหว่างทางที่กำลังส่งมาว่าเป็นของใคร พูดง่ายๆ คือ ขึ้นอยู่กับสินค้าดังกล่าวส่งมอบแล้วหรือยัง ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้จะถูกระบุเอาไว้ใน Invoice ของสินค้าเหล่านั้น

ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่บริษัท Very Goods สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดยใช้เงื่อนไขแบบ F.O.B Shipping Point ซึ่งในกรณีนี้สินค้าดังกล่าวจะเป็นของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือ (ยกขึ้นเรือ) นั่นหมายความว่าบริษัท Very Goods จะเป็นเจ้าของสินค้าดังกล่าวตั้งแต่ตอนนั้น

หรือสรุปคือ ผู้ซื้อจะเป็นเจ้าของสินค้าทันทีที่สินค้าดังกล่าวหมดภาระความรับผิดชอบจากผู้ขาย ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ซึ่งแสดงอยู่ใน Invoice หรือที่รู้จักกันในชื่อ Incoterms

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานของ Incoterms และเงื่อนไขความรับผิดชอบของแต่ละแบบได้จากบทความ Incoterms 2020 คืออะไร ? และเงื่อนไขของ Incoterms แต่ละแบบ

วิธีบันทึกบัญชี สินค้าระหว่างทาง

ในส่วนของวิธีบันทึกบัญชีสำหรับ สินค้าระหว่างทาง (Goods in Transit) จากตัวอย่างด้านบนจะสามารถบันทึกได้ดังนี้ (โดยการบันทึกบัญชีจะใช้วันที่ตามที่ระบุอยู่ใน Bill of Lading หรือ B/L และ) เริ่มจากกรณีที่สินค้ายังไม่มาถึงบันทึกว่า

Debit สินค้าระหว่างทาง      xxx

Credit เจ้าหนี้การค้า       xxx

เมื่อหลังจากที่กิจการได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้วจะบันทึกว่า

Debit ซื้อ     xxx

Credit สินค้าระหว่างทาง      xxx

ในกรณีที่ต้องมีการแปลงค่าเงินเป็นเงินบาทในการบันทึกบัญชี จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามกรมศุลกากร

บทความที่เกี่ยวข้อง