Packing Credit (P/C) หรือ สินเชื่อเพื่อการส่งออก คือ สินเชื่อระยะสั้นที่ธนาคารปล่อยให้ผู้ส่งออก (ยกเว้นการ Re-Export) ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำ
สินเชื่อเพื่อการส่งออก หรือ Packing Credit จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Pre-Shipment Financing (สินเชื่อก่อนการส่งออก) และ Post-Shipment Financing (สินเชื่อหลังการส่งออก)
สินเชื่อเพื่อการส่งออกไม่สามารถใช้กับการ Re-Export ได้
Re-Export คือ การนำเข้าสินค้าเข้ามา แล้วส่งออกไปอีกทีโดยไม่มีการแปลงสภาพสินค้า
Pre-Shipment Financing
Pre-Shipment Financing หรือ สินเชื่อก่อนการส่งออก เป็นการกู้เพื่อไปซื้อสินค้าไปขายหรือซื้อวัตถุดิบมาผลิต (แยกเป็น 3 แบบ)
Packing Credit Against Stock – เป็นการนำสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว (แต่ยังผลิตไม่ครบตามจำนวนที่จะส่งออก) มาจำนำกับธนาคาร เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อวิตถุดิบมาผลิตต่อให้ครบตามจำนวนที่จะต้องส่งออก ธนาคารจะให้กู้ได้เป็นเงินไม่เกิน 80% ของมูลค่าสินค้าที่เอามาจำนำ (ราคาประเมินจากราคาตลาดตอนนั้น)
Packing Credit Against Contract or Purchase Order –ใช้สัญญาการซื้อขายหรือใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) มาค้ำประกันในการขอกู้ ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน 80% ของมูลค่าสินค้าที่ตกลงกันไว้ในสัญญา (ใช้ในกรณีที่ L/C ยังไม่มาถึงผู้ขาย แต่ต้องการใช้เงินเพื่อผลิตสินค้า)
Packing Credit Against Letter of Credit –ใช้ Letter of Credit ชนิดเพิกถอนไม่ได้ในการค้ำประกันเพื่อกู้ ธนาคารให้กู้ได้ไม่เกิน 80% ของมูลค่าสินค้าที่ระบุบน Letter of Credit นั้น
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Pre-Shipment Financing หรือ สินเชื่อก่อนการส่งออก
- ใบคำขอใช้สินเชื่อเพื่อการส่งออก
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน (ใบสัญญาว่าผู้กู้จะใช้หนี้)
- Letter of Credit แบบเพิกถอนไม่ได้ – สำหรับกรณี Packing Credit Against Letter of Credit
- สัญญาซื้อขายสินค้า หรือ ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) – สำหรับกรณี Packing Credit Against Contract or Purchase Order
- ใบประทวนสินค้า – สำหรับกรณี Packing Credit Against Stock
- แบบการทำรายงานธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ – กรณีกู้หรือทำธุรกรรมเป็นเงินต่างประเทศยอดเงินตั้งแต่ $50,000 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
จากรูปขั้นตอนการชำระเงินแบบ Letter of Credit ด้านล่าง มาดูกันว่าสินก่อนการส่งออกแต่ละแบบเกิดขึ้นตรงไหน:
Packing Credit Against Stock – เกิดขึ้นที่ขั้นที่ 0. ได้รับคำสั่งซื้อมาแล้ว ผลิตไปจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีเงินทุนจึงต้องนำสินค้าที่ผลิตเสร็จรอการส่งออกไปจำนำเพื่อ นำเงินมาซื้อวัตถุดิบไปผลิตต่อให้ครบเพื่อส่งออก
Packing Credit Against Contract or Purchase Order – เกิดขึ้นที่ขั้นที่ 0. หลังจากที่ผู้ส่งออกได้สัญญาซื้อขายหรือใบคำสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะถูกนำไปใช้ค้ำประกัน
Packing Credit Against Letter of Credit – เกิดขึ้นที่ขั้นที่ 3. จากรูป ที่ผู้ส่งออกจะได้หนังสือ Letter of Credit มาแล้ว เพราะวิธีนี้ต้องใช้ Letter of Credit ไปค้ำประกัน
Post-Shipment Financing
หรือ สินเชื่อหลังการส่งออก แยกออกเป็น 3 ประเภท
Purchased or Discounted under Export L/C or B/C – ธนาคารให้สินเชื่อกับผู้ส่งออก เพื่อนำเงินมาหมุนระหว่างรอการจ่ายเงินแบบ L/C หรือ B/C (จากภาพด้านบนกว่าจะได้เงินในการจ่ายแบบ L/C ก็ขั้นตอนที่ 7.) กู้ได้สูงสุด 80% ตามมูลค่าสินค้าใน L/C หรือ B/C
กู้ได้นานสุดตามเวลาของ L/C หรืv B/C (แต่ไม่เกิน 180 วัน)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง:
1.ใบคำขอ ขาย/ขายลด L/C หรือ B/C (ชื่อไทยของ Purchased or Discounted under Export L/C or B/C)
2.ต้นฉบับ L/C หรือ B/C
3.เอกสารการส่งออกต่างๆ (Shipping Documents) ตาม L/C หรือ B/C
4.แบบการทำรายงานธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ – กรณีกู้หรือทำธุรกรรมเป็นเงินต่างประเทศยอดเงินตั้งแต่ $50,000 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
Discounted under Export L/C without Recourse – ธนาคารจะซื้อลด (ซื้อราคาถูกกว่าปกติ) L/C’s Terms โดยไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยผู้ส่งออก (คือถ้าผู้ขายไม่ยอมจ่ายก็ไม่เกี่ยวกับผู้ส่งออกแล้ว เพราะถือว่าธนาคารเป็นเจ้าของหนี้นั้นไปแล้ว) ทำให้ความเสี่ยงที่ผู้ซื้ออาจไม่จ่ายไปตกอยู่กับธนาคารแทน
Packing Credit under Usance Bill – ธนาคารให้สินเชื่อกับผู้ส่งออกที่ต้องรอการจ่ายเงินจากผู้ซื้อที่จ่ายเงินวิธี L/C’s Terms หรือ B/C’s Terms ให้กู้ได้สูงสุด 90% ของมูลค่า L/C’s Terms หรือ B/C’s Terms ที่เอามาค้ำ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ตั๋วสัญญาใช้เงิน
2.ต้นฉบับ L/C’s Terms – กรณี Packing Credit under Usance Bill
3.B/C’s Terms – กรณี Packing Credit under Usance Bill
4.เอกสารการส่งออกต่างๆ (Shipping Documents) ตาม L/C’s Terms หรือ B/C’s Terms
5.แบบการทำรายงานธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ – กรณีกู้หรือทำธุรกรรมเป็นเงินต่างประเทศยอดเงินตั้งแต่ $50,000 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
จากภาพด้านล่างจะเป็นขั้นตอนของ Bill for Collection หรือ B/C
ในกรณีที่ใช้สินเชื่อหลังการส่งออกแบบ Purchase or Discounted Export Bills under B/C ในขั้นตอนที่ 2. ผู้ส่งออกจะส่งคำขอ ขาย/ขายลด ไปในขั้นตอนนี้ด้วย

จากภาพด้านล่างจะเป็นขั้นตอนของ Letter of Credit หรือ L/C
ในกรณีที่ใช้สินเชื่อหลังการส่งออกแบบ Purchase or Discounted Export Bills under L/C ในขั้นตอนที่ 5. ผู้ส่งออก (ในที่นี้คือ Beneficiary) จะส่งคำขอ ขาย/ขายลด มาในขั้นตอนนี้ด้วย และธนาคารก็จะโอนเงินให้ผู้ส่งออกเลย (ปกติได้เงินหลังขั้นตอนที่ 7.)
