รายได้ที่ต้องเสียภาษี ในประเทศไทยจะพิจารณาจากเงื่อนไข 2 ข้อคือ หลักแหล่งเงินได้ และ หลักถิ่นที่อยู่ ซึ่งถ้าหากเงินได้เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจาก หลักแหล่งเงินได้ หลักถิ่นที่อยู่ จะทำให้เงินได้ก้อนนั้นกลายเป็น รายได้ที่ต้องเสียภาษี ให้กับประเทศไทย
หรือพูดให้ง่ายกว่านั้น หลักแหล่งเงินได้ หลักถิ่นที่อยู่ คือ เงื่อนไขสำคัญที่จะตอบคำถามยอดฮิตในลักษณะของ “รายได้ xxx ต้องเสียภาษีมั้ย?”
อย่างไรก็ตาม หลักในการเก็บภาษี จริง ๆ แล้วจะมีอยู่ 3 หลัก เพียงแต่ประเทศไทยจะใช้แค่ 2 หลักเป็นเงื่อนไขของ รายได้ที่ต้องเสียภาษี คือ หลักถิ่นที่อยู่ และ หลักแหล่งเงินได้
- หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) คือ รายได้เกิดในประเทศใด ประเทศนั้นจะเป็นผู้เก็บภาษีจากผู้มีเงินได้
- หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) คือ รายได้เกิดที่ประเทศ A แต่ว่าตัวอยู่ในประเทศ B ประเทศ B จะเป็นผู้เก็บภาษี
- หลักสัญชาติ (Nationality Rule) คือ ผู้มีรายได้ถือสัญชาติอะไร ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศนั้น (ประเทศไทยไม่ได้ใช้วิธีนี้)
นอกจากนี้ หลักในการเก็บภาษีจะไม่เก็บภาษีให้เกิดความซ้ำซ้อน ถ้าหากคุณจ่ายภาษีให้กับหลักที่ 1 แล้ว ก็จะไม่ต้องเสียให้หลักที่ 2 และ 3 อีกครั้ง ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าเงินจำนวนเดิมต้องจ่ายภาษีถึง 3 ครั้ง
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)
หลักแหล่งเงินได้ คือ หลักในการเก็บภาษีที่มีเงื่อนไขว่า รายได้เกิดในประเทศใดประเทศนั้นจะเป็นผู้เก็บภาษี (มีรายได้ที่ไหนจ่ายภาษีให้ประเทศนั้น) ไม่ว่าคนที่มีรายได้คนนั้นจะเป็นคนประเทศอะไร
สำหรับเงื่อนไขที่เข้า หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) ที่จะทำให้กลายเป็น รายได้ที่ต้องเสียภาษี จะประกอบด้วย 4 กรณี คือ
1) เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย เช่น Expat จากต่างประเทศที่ถูกส่งมาทำงานในไทย นักร้องชื่อดังมาเปิดคอนเสิร์ตในประเทศไทย และพนักงานคนไทยทั่วไปในไทย เป็นต้น
2) มีกิจการอยู่ในประเทศไทย เช่น คนต่างประเทศเปิดกิจการร้านอาหารในไทย (ไม่สนว่าเจ้าของร้านที่ได้เงินอยู่ในประเทศไทยมั้ย) กรณีนี้จะรวมไปถึงการเข้ามาแข่งอะไรก็ตามแล้วได้เงินในประเทศไทย
3) มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย เช่น คนจีนซื้อบ้านไว้ในไทยแล้วปล่อยให้คนไทยเช่า เงินปันผล ดอกเบี้ย
4) กิจการของนายจ้างในประเทศไทย เช่น บริษัทไทยชื่อบริษัท A จ้างนาย ก. ส่งไปประจำสาขาที่ญี่ปุ่น ซึ่งเงินเดือนของนาย ก. ได้จากบริษัท A ที่อยู่ในไทย
หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule)
หลักถิ่นที่อยู่ คือ กรณีที่รายได้เกิดที่ประเทศ A แต่ว่าตัวอยู่ในประเทศไทย ประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บภาษีเมื่อตรงกับเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อพร้อมกันจึงจะเข้าหลักถิ่นที่อยู่และเป็น รายได้ที่ต้องเสียภาษี (ถ้าตรงเงื่อนไขเพียงข้อใดข้อหนึ่งจะยังถือว่าไม่เข้า หลักถิ่นที่อยู่)
- อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันภายในรอบปี – ถ้าวันที่ 180 เป็นวันที่ 1 มกราคม ปีถัดไป ถือว่ายังไม่เข้าเงื่อนไขนี้
- มีการนำเงินที่ได้ (จากทั้ง 3 กรณีที่เราจะอธิบายส่วนต่อข้างบน) เข้ามาในประเทศไทย
โดยกรณีที่เข้าเงื่อนไขของ หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) จะมีอยู่ 3 กรณี ได้แก่
1) ไปทำงานในต่างประเทศ เช่น นาย B เป็นคนจีน เข้ามาทำงานที่ประเทศไทย
2) มีทรัพย์สินอยู่ในต่างประเทศ เช่น นางสาว A อยู่ที่ไทยแต่ซื้อตึกในประเทศมาเลเซียเพื่อเปิดให้คนเช่า
3) มีกิจการอยู่ต่างประเทศ เช่น นางสาว C อยู่ที่ไทยแล้วเปิดร้านอาหารไทยทิ้งไว้ที่ประเทศอังกฤษ
สรุป รายได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง?
จากที่อธิบายทั้งหมดถ้าหากมีคำถามว่า รายได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษี คือเงินได้จากอะไรบ้าง คำตอบง่ายๆ คือเงินได้ทุกอย่างที่ผู้มีเงินได้เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของ หลักแหล่งเงินได้ และ หลักถิ่นที่อยู่ ที่ได้อธิบายในบทความนี้
และเมื่อพบว่าเงินได้ของคุณเป็น รายได้ที่ต้องเสียภาษี ขั้นตอนต่อไปคือ เช็คว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทไหนจากทั้ง 8 ประเภท เพื่อที่จะสามารถหักค่าใช้จ่ายและคำนวณภาษีต่อไป เพื่อดูว่าเงินได้ของคุณเป็นเงินได้ประเภทไหน