แบงค์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ครั้งแรกในรอบ 7 ปี
ล่าสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) เพิ่มขึ้นเป็น 1.75%
โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี จากเดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี (ปรับเพิ่ม 0.25%)
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้ถือเป็นการปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายของไทย เป็นครั้งแรกในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้เหนือความคาดหมายอะไรสำหรับการคาดเดาของหลายคน ซึ่งเป็นผลมาจากจากการที่เศรษฐกิจโลกกลับมาเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นอีกครั้ง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคำว่า “เพิ่มดอกเบี้ย” หรือ “ขึ้นดอกเบี้ย” จะฟังดูน่ากลัว แต่เมื่อเทียบกับ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของหลายๆ ประเทศ ดอกเบี้ยนโยบายของไทย ในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่สำคัญ
มาดูกันว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ที่เท่าไหร่กันบ้าง !?
ประเทศ | อัตราดอกเบี้ย |
ญี่ปุ่น | -0.1% |
สหภาพยุโรป | 0% |
ไทย | 1.75% |
อเมริกา | 2.25% |
มาเลเซีย | 3.35% |
จีน | 4.35% |
ฟิลิปปินส์ | 4.75% |
อินโดนีเซีย | 6% |
สำหรับการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของ ธนาคารแห่งประเทศไทย คือการปรับอัตราดอกเบี้ยฯ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2011
ส่วนการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดของ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 1.75% เหลือ 1.5% เมื่อปี 2558
นอกจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว ในการประชุมครั้งนี้ยังได้มีการปรับตัวเลขประมาณการณ์เศรษฐกิจลงด้วย โดยในปีนี้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปรับลดลงเหลือร้อยละ 4.2 จากเดิมที่ร้อยละ 4.4
อ่านเพิ่มเติมในส่วนของ ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)