เงินบาทอ่อนค่า คืออะไร?
เงินบาทอ่อนค่า คือ การที่เงินอีกสกุลแลกเงินบาทได้มากขึ้นหรือเงินบาทมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศก็จะแลกเงินบาทได้มากขึ้นด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม ทำให้เงินเท่าเดิมของผู้นำเข้าสินค้าไทยในต่างประเทศสามารถซื้อสินค้าได้ถูกลงนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น วันที่ 10 มกราคมเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทได้ 31 บาท แต่เมื่อเวลาผ่านไปในวันที่ 20 มกราคมเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทได้ 32 บาท นั่นหมายความว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ
ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทอ่อนค่าเพราะเงินมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง นั่นหมายความว่าเงินอีกสกุลแข็งค่าขึ้นนั่นเอง
ทำไมเงินบาทอ่อนค่าส่งผลดีต่อการส่งออก
อาจฟังดูแย่ที่ต่างชาติสามารถแลกเงินบาทของเราได้มากขึ้น แต่การที่เงินบาทอ่อนค่าเป็นสิ่งที่ดีต่อการส่งออก เนื่องจากสินค้าของไทยในสายตาต่างชาติถูกลงจากอัตราแลกเปลี่ยน (แต่ผู้ส่งออกไทยยังได้เงินเท่าเดิม ไม่ได้ได้เงินลดลงแต่อย่างใด)
ตัวอย่างเช่น บริษัท Duskwood จากสหรัฐอเมริกานำเข้ายางพาราจากไทยเดือนละ 3,000 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท โดยซื้อยางจาก บริษัท Rubber Wood
ซึ่งในการซื้อขายระหว่างประเทศ การจะซื้อสินค้าจากไทยบริษัท Duskwood จะต้องจ่ายเป็นเงินบาท (แลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินบาท
สมมติว่าเมื่อ 2 เดือนก่อน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทไทยได้ 31 บาท ยาง 3,000 กิโลกรัมคิดเป็นเงิน 300,000 บาท หมายความว่าต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐประมาณ 9,677 ดอลลาร์สหรัฐ
วันนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทได้ 35 บาท หมายความว่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ 2 เดือนที่แล้ว เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัท Duskwood ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐแค่ 8,571 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นสำหรับการแลกเงินบาท 300,000 บาท
นั่นหมายความว่าบริษัท Duskwood จะซื้อยางพาราถูกลงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่บริษัท Rubber Wood หรือผู้ส่งออกของเรายังได้เงิน 300,000 บาทเท่าเดิม
นอกจากนี้ ในความเป็นจริงบริษัท Duskwood อาจจะสั่งยางเพิ่มอีกด้วยเงิน 1,106 ดอลลาร์สหรัฐที่เหลือก็ได้ นั่นหมายความว่าบริษัท Rubber Wood ของไทยอาจจะขายยางพาราได้อีกในมูลค่าประมาณ 38,710 บาท (ประมาณ 1 ใน 10 ของยอดขายเดิม)
และทั้งหมดก็คือเหตุผลว่าทำไมการที่เงินบาทอ่อนค่าคือสิ่งที่ทำให้สินค้าไทยราคาถูกลงและส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
ในทางกลับกันการที่เงินบาทแข็งค่าก็จะส่งผลเสียต่อการส่งออกของไทย อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความเงินบาทแข็งค่า คืออะไร? ส่งผลกระทบอะไรต่อการส่งออก
สรุป คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ เงินบาทอ่อนค่า
การที่เงินบาทมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง หรือเงินบาทแลกเงินอีกสกุลหนึ่งได้ลดลง
เงินบาทอ่อนค่าส่งผลดีต่อการส่งออก เนื่องจากสินค้าของไทยในสายตาต่างชาติถูกลงจากอัตราแลกเปลี่ยน (แต่ผู้ส่งออกไทยยังได้เงินเท่าเดิม)