GreedisGoods » Economics » เงินบาทแข็งค่า คืออะไร? ใครได้ประโยชน์ ส่งผลอะไรต่อการส่งออก

เงินบาทแข็งค่า คืออะไร? ใครได้ประโยชน์ ส่งผลอะไรต่อการส่งออก

by Kris Piroj
เงินบาทแข็งค่า คือ ผลเสีย การส่งออก ผลกระทบของ เงินบาทแข็ง

เงินบาทแข็งค่า คืออะไร?

เงินบาทแข็งค่า คือ การที่เงินบาทมีมูลค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง หรือในอีกความหมายหนึ่งเงินบาทแข็งค่าคือการที่เงินบาทสามารถแลกเงินสกุลอื่นได้มากขึ้นเมื่อเทีบกับช่วงก่อนหน้า นั่นหมายความว่าผู้นำเข้าสินค้าในต่างประเทศที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยจะใช้เงินเท่าเดิมซื้อสินค้าปริมาณเท่าเดิมได้น้อยลง

ตัวอย่างเช่น ในเดือนเมษายนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทได้ 35 บาท เมื่อเวลาผ่านไปในเดือนพฤษภาคมเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกเงินบาทได้เพียง 34 บาท นั่นหมายความว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าหมายความว่าเงินสกุลที่นำมาแลกกับเงินบาทกำลังอ่อนค่า หรือจากตัวอย่าง เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทนั่นเอง

ทำไมเงินบาทแข็งค่าส่งผลเสียต่อการส่งออก

แม้ว่าการที่เงินบาทแข็งค่าจะเป็นเรื่องดีที่เงินบาทของเรามีค่ามากขึ้น แต่การที่เงินบาทแข็งกลับส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้นำเข้าสินค้าไทยในต่างประเทศ เพราะการที่เงินบาทแข็งค่าทำให้ผู้นำเข้าสินค้าจากไทยซื้อสินค้าได้น้อยลง จากการที่เงินของผู้นำเข้าแลกเงินบาทได้น้อยลง

นั่นหมายความว่า ถ้าหากต่างชาตินำเข้าสินค้าจากไทยในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ผู้นำเข้าชาวต่างชาติก็จะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อของจำนวนเท่าเดิม (หรืออีกมุมนึงคือเงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลงนั่นเอง)

ตัวอย่างเช่น สมมติว่า นาย A เป็นชาวสวีเดนนำเข้าเพชรจากประเทศไทยเพื่อนำไปขายต่อ และสมมติว่าเพชรที่นาย A นำเข้าจากไทยมาโดยตลอดมีเกรดเดียว โดยราคาอยู่ที่ 200,000 บาทต่อ 1 กะรัต

ดังนั้น ถ้านาย A สั่งเพชร 10 ชนิดดังกล่าว 10 กะรัต (มูลค่าเป็นเงินบาทคือ 2,000,000 บาท) นาย A จะต้องแลกเงินยูโร (Euro) เป็นเงินบาทเพื่อจ่ายเงินให้ B เป็นเงินบาทไทยจำนวน 2 ล้านบาท

ถ้าหากว่า 1 เดือนที่แล้ว อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ยูโรต่อ 35.55 บาท A ต้องใช้เงินยูโรประมาณ 56,259 ยูโรเพื่อแลกเงินบาท 2 ล้านบาท

ในขณะที่วันนี้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ยูโร ต่อ 33 บาท A ต้องใช้เงินยูโรทั้งหมด 62,500 ยูโรเพื่อแลกเงินบาท 2 ล้านบาท

จากตัวอย่างจะเห็นว่าอยู่ดี ๆ นาย A ต้องจ่ายเงินมากขึ้นถึง 6,241 ยูโร (จ่ายเพิ่มประมาณ 200,000 บาทแบบงง ๆ) โดยที่ได้สินค้าเท่าเดิม ขายได้ราคาเดิม และกำไรเท่าเดิม หรือก็คือต้นทุนเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างเป็นแค่การสั่งเพชร 10 กะรัต แต่ในความเป็นจริงปริมาณการสั่งซื้อย่อมมากกว่านี้อย่างแน่นอน ดังนั้นความเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยนก็จะไม่ใช่แค่ 6,000 ยูโรอย่างแน่นอน

ทางเลือกของผู้นำเข้าสินค้าจากไทย

เมื่อถึงจุดหนึ่งที่นาย A รับไม่ไหวกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนในตัวอย่าง นาย A ก็จะหันไปซื้อสินค้ากับพ่อค้าเพชรรายอื่นแทน (ประเทศอื่น) ที่ขายเพชรเกรดเดียวกัน ราคาเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้ซื้อขายเป็นเงินบาทที่ได้ความเสียหายจากการที่เงินบาทแข็งค่า

สรุป ผลเสียของเงินบาทแข็งค่าต่อการส่งออก คือ การที่ผู้ซื้อจะหนีไปซื้อสินค้าจากผู้ขายรายอื่นในประเทศอื่นนั่นเอง


วิธีรับมือเงินบาทแข็งค่า

การรับมือกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ส่งออกสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการที่เงินบาทแข็งค่า ได้ในเบื้องต้นตั้งแต่ก่อนอัตราแลกเปลี่ยนจะเกิดความผันผวน

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะทำหน้าที่เป็นเหมือนประกัน ถ้าหากว่าอัตราแลกเปลี่ยนเกิดความผันผวนจนเงินบาทแข็งค่า เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเหล่านี้ก็จะช่วยชดเชยความเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยน (เหมือนกับการทำประกัน) สำหรับเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ก็จะมีอยู่หลากหลายวิธี เช่น

ซึ่งการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนและความรู้ของผู้ส่งออก รวมไปถึงการคาดการณ์ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

สรุป คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ เงินบาทแข็งค่า

เงินบาทแข็งค่า คืออะไร?

เงินบาทแข็งค่า คือ การที่เงินบาทมีมูลค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง หรือในอีกความหมายหนึ่งเงินบาทแข็งค่าคือการที่เงินบาทสามารถแลกเงินสกุลอื่นได้มากขึ้นเมื่อเทีบกับช่วงก่อนหน้า

เงินบาทแข็งค่า ส่งผลอย่างไรต่อการส่งออก?

ผู้นำเข้าชาวต่างชาติก็จะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อของจำนวนเท่าเดิม ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้าจากไทยก็จะหนีไปซื้อสินค้าจากผู้ขายรายอื่นในประเทศอื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด