เงินแข็ง กับ เงินอ่อน คือ อะไร ? เงินแข็งและเงินอ่อน ได้อย่างไร? และแตกต่างกันอย่างไร? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เงินแข็งหรือเงินอ่อน !?
เงินแข็ง กับ เงินอ่อน คือ เรื่องเกี่ยวกับ มูลค่าของเงิน ระหว่าง 2 สกุลเงิน ที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไป โดยทั้ง เงินแข็ง เงินอ่อน จะเกิดขึ้นในทิศทางตรงข้ามกันเสมอเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง เงินดอลลาร์สหรัฐ ต่อ เงินบาทไทย คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 35 บาท เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไป สมมติ ว่าเปลี่ยนไปเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 31 บาท
มุมมองจากด้านเงินบาท คือการที่ เงินบาทแข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
มุมมองจากด้านเงินดอลลาร์ คือการที่ เงินดอลลาร์อ่อนค่า เมื่อเทียบกับเงินบาท
แต่ถ้าหากยังงงอยู่ มาทำความเข้าใจกับที่มาของ เงินแข็ง เงินอ่อน รวมถึงวิธีดูว่าเงินแข็งค่าหรือเงินอ่อนค่ากันทีละขั้นตอน
วิธีสังเกตว่า เงินแข็ง หรือ เงินอ่อน
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะสามารถเข้าใจ เงินแข็งกับเงินอ่อน คือ ให้คิดว่าเงินแต่ละสกุลเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง เงินแข็ง และ เงินอ่อน คือการเปลี่ยนไปของราคาสินค้านั่นเอง
- เงินแข็ง คือ เงินสกุลหนึ่งมีราคาแพงขึ้น เมื่อใช้เงินอีกสกุลหนึ่งไปซื้อ (แลกเงิน)
- เงินอ่อน คือ เงินสกลุหนึ่งราคาถูกลง เมื่อใช้เงินอีกสกุลซื้อ (แลกเงิน)
เพื่อที่จะทำให้เข้าใจง่ายๆ เราจะยกตัวอย่างแยกระหว่าง เงินแข็ง กับ เงินอ่อน เพิ่มเติมด้านล่าง
เงินแข็ง ดูอย่างไร
เงินแข็ง คือ การที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เงินสกุล A) มีค่ามากขึ้นจากเดิมเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง (เงินสกุล B)
ตัวอย่าง เงินบาทแข็ง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
จากเดิม 35 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจุบัน 34 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จากตัวอย่างจะเห็นว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ต้องใช้ถึง 35 บาท เพื่อแลกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันใช้เพียงแค่ 34 บาท ก็แลกได้แล้ว
เพิ่มเติม หรือถ้าหากว่าเรามองในมุมดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าน้อยลง (แลกเงินบาทได้น้อยลง) หรือก็คือเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท
เงินอ่อน ดูอย่างไร
เงินอ่อน คือ การที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เงินสกุล A) มีค่าน้อยลงจากเดิมเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง (เงินสกุล B)
ตัวอย่าง เงินบาทอ่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
จากเดิม 34 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจุบัน 35 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จากตัวอย่างจะเห็นว่า เงินบาทมีค่าลดลง เพราะก่อนหน้านี้ต้องใช้แค่ 34 บาท เพื่อแลกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันต้องใช้ถึง 35 บาท
เพิ่มเติม หรือถ้าหากว่าเรามองในมุมดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่ามากขึ้น (แลกเงินบาทได้มากขึ้น) หรือก็คือเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท
สาเหตุที่ทำให้ เงินแข็งและเงินอ่อน
เงินแข็งและเงินอ่อน มีหลักสาเหตุมาจาก Demand และ Supply ของค่าเงินหรือสกุลเงินนั้นๆ ให้คิดว่าเงินเป็นเหมือนสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องเอาเงินอีกสกุลไปแลก (ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลนั้นเป็นแบบลอยตัว หรือ แบบลอยตัวภายใต้การแทรกแซง)
เงินแข็ง เกิดจาก ความต้องการเงินสกุลนั้นๆ (Demand) > จำนวนเงินสกุลนั้นๆ (Supply)
เงินอ่อน เกิดจาก ความต้องการเงินสกุลนั้นๆ (Demand) < จำนวนเงินสกุลนั้นๆ (Supply)
ดังนั้น คำตอบจะอยู่ที่ว่าแล้วอะไรที่ทำให้คนมีความต้องการ (หรือไม่ต้องการ) เงินสกุลนั้นๆ จนทำให้เงินสกุลนั้นแพงขึ้น (แข็งค่า) หรือถูกลง (อ่อนค่า)?
เงินแข็ง (Appreciation) เพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้ เงินแข็ง คือ อะไรก็ตามทำให้เกิดความต้องการ (Demand) เงินสกุลนั้น
- เกินดุลการค้ามากๆ (ส่งออก มากกว่า นำเข้า) เพราะการที่ส่งออกก็คือการที่ต่างชาติซื้อสินค้าเรา เงินที่ได้มาก็จะเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ทำให้เราต้องไปแลกเงินสกุลต่างประเทศนั้นเป็นเงินบาท
- Fund Flow จากต่างประเทศไหลเข้ามามากๆ การที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน ตอนมาเค้าถือเงินประเทศเค้ามา เมื่อต่างชาติต้องการซื้อตราสารต่างๆ ก็ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน
- ความเชื่อมั่น ถ้าใครๆก็เชื่อมั่นว่าประเทศนั้น สกุลเงินนั้นดีอย่างงั้นอย่างงี้ ไม่ค่อยผันผวน คนเหล่านั้นก็จะแลกเงินประเทศนั้นเก็บไว้ (ลองไปค้นว่า safe haven ดู)
- ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปแทรกแซง
- อื่นๆ …
เงินอ่อน (Depreciation) เพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้ เงินอ่อน คือ อะไรก็ตามที่ทำให้คนไม่ต้องการเงินสกุลนั้น จนต้องแลกเป็นเงินสกุลอื่น
- Fund Flow จากต่างประเทศไหลเข้ามามากๆ การที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน ตอนมาเค้าถือเงินประเทศเค้ามา แต่เมื่อต่างชาติต้องการซื้อตราสารต่างๆ ก็ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน
- ขาดดุลการค้ามากๆ (นำเข้า มากกว่า ส่งออก) การที่จะซื้อของจากต่างประเทศ เราก็ต้องแลกจากบาทเป็นเงินต่างประเทศเช่นกัน
- ความเชื่อมั่น ถ้าไม่มีใครเชื่อมั่นประเทศ A คนเหล่านั้นก็จะแลกเงินประเทศ A ที่มีไปเป็นเงินสกุลอื่น
- ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปแทรกแซง
- อื่นๆ …
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เงินแข็ง และ เงินอ่อน
ผู้ที่ได้รับผลดีจากเงินแข็ง คือ ผู้นำเข้า หรือ ใครก็ตามที่ต้องการเปลี่ยนเงินบาทเป็นเงินอีกสกุล สมมติว่า A ต้องการซื้อวัตถุดิบจากอเมริกา ราคา $1000
โดยก่อนหน้า $1 = ฿35 (วัตถุดิบที่ว่าก็จะเป็นราคา 35000 บาท) แต่ปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าเป็น $1 = ฿ 34 (วัตถุดิบที่ว่าราคาก็จะเหลือแต่ 34000 บาท)
ในทางกลับกันผู้ที่ได้รับผลเสียจากเงินแข็ง ก็คือผู้ส่งออก เพราะสินค้าที่ส่งออกไปจะถูกมองว่าแพงขึ้นในสายตาต่างประเทศ
ผู้ที่ได้รับผลดีจากเงินอ่อน ผู้ส่งออก หรือ ใครก็ตามที่ต้องการเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศ เป็นเงินบาท สมมติว่า B ส่งออกสินค้า Cไปอเมริกา ราคา 35000 บาท
โดยก่อนหน้า $1 = ฿34 (ต่างชาติใช้เงิน $10000 ซื้อสินค้า G แล้วยังเหลือเงินอีก 1000 บาท) แต่ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าเป็น $1 = ฿ 35 (ต่างชาติใช้เงิน $10000 ซื้อสินค้า G ได้ชิ้นเดียวโดยไม่เหลือเงินซักบาท)
ในทางกลับกันผู้ที่ได้รับผลเสียจากเงินอ่อน ก็คือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องนำเข้าสินค้าด้วยราคาที่แพงขึ้น
เว็บไซต์สำหรับเปรียบเทียบค่าเงิน
XE Currency – https://www.xe.com/currencyconverter/
Bloomberg – https://www.bloomberg.com/markets/currencies
หรือถ้าไม่ถูกใจหรือใช้ยาก ลอง Search Google ไปว่า “Currency Converter” ก็จะเจอเครื่องมือสำหรับแปลงค่าเงินอื่นๆ