Production Possibility Curves หรือ เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต หรือ เส้นเป็นไปได้ในการผลิต คือ เส้นที่แสดงความสามารถสูงสุดของการผลิตสินค้า 2 ชนิด ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่ง Production Possibility Curves (เส้น PPC) หรือ เส้นเป็นไปได้ในการผลิต คือ การแสดงค่าเสียโอกาสจากการเสียโอกาสในการผลิตสินค้าหนึ่ง เมื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ (อย่างจำกัด) ไปกับการผลิตสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตมีต้นทุนแรงงานที่จำกัด คือ พนักงาน 4 คน โดยที่ผู้ผลิตดังกล่าวสามารถใช้แรงงานที่มีผลิตสินค้าได้ 2 ชนิด คือ จานและกล่องพลาสติก
จากปัญหาดังกล่าว เมื่อเขียนเป็นกราฟจะทำให้เห็น เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (Production Possibility Curves) หรือ เส้น PPC ตามนี้
กราฟเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (Production Possibility Curves)

จากกราฟจะเห็นว่า ถ้าผู้ผลิตเลือกผลิตจาน 10 หน่วย จะทำให้สามารถผลิตกล่องได้เพียง 6 หน่วย
ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตจาน ในกราฟ PPC คือ การเสียโอกาสในการผลิตกล่อง 4 หน่วย (ผลิตได้แค่ 6 หน่วย)
แต่กลับกัน ถ้าผู้ผลิตเลือกผลิตจานเพียงแค่ 6 หน่วย จะทำให้สามารถผลิตกล่องได้ถึง 10 หน่วย
ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการผลิตกล่อง ในกราฟ PPC คือ การเสียโอกาสในการผลิตจาน 4 หน่วย (ผลิตได้แค่ 6 หน่วย)
จากกราฟ เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (Production Possibility Curves) ในกรณีนี้จะเห็นว่า ไม่ว่าจะผลิตอะไรก็ได้จำนวนหน่วยที่เท่ากัน ทำให้ในกรณีนี้ต้องพิจารณาต่อไปว่าสินค้าใดมีมูลค่ามากกว่ากัน หรือ สินค้าใดมีต้นทุนในส่วนอื่น ๆ ที่ต่ำกว่ากัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นทุนค่าเสียโอกาสแบบละเอียดต่อได้ที่บทความ ต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือ Opportunity Cost คืออะไร?