ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในปี 2563 รับมือสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัส (Covid-19)
แบงค์ชาติลดดอกเบี้ย ครั้งที่ 2 ของปี 2563 จากผลการ ประชุมกนง นัดพิเศษ ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 โดยการที่แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยครั้งนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลง 25 bps จากดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.75
โดยคณะกรรมการนโยบยการเงิน (กนง.) ประกาศให้การลดดอกเบี้ยเหลือ 0.75% มีผลในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ที่จะถึง
สำหรับเหตุผลหลักของการที่ แบงค์ชาติลดดอกเบี้ย เหลือ 0.75% คือการลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงที่การระบาดของ COVID-19 เริ่มรุนแรงกว่าที่คาดไว้
นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติลดดอกเบี้ย ลงอีก 25 BPS หลังจากที่แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เป็นครั้งแรกที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (หลังจากที่ครั้งก่อนได้ทำลายสถิติดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์ครั้งแรก)
- อ่านรายละเอียดของการลดดอกเบี้ยจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ – ไทยลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1%
แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยเหลือ 0.75% ทำไม?
จากแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ ประชุมกนง (นัดพิเศษ) ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 ได้ให้เหตุผลของการลดดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ในครั้งนี้ของแบงค์ชาติเอาไว้ว่า
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ การระบาดที่เกิดขึ้นได้สร้างความกังวลให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินไทย แม้ว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ
คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563 เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนมาตรการการคลังของรัฐบาลที่ได้ออกมาแล้วและจะออกมาเพิ่มเติม
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมาและในครั้งนี้จะเกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินจะต้องมีบทบาทเชิงรุกในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน รวมทั้งการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินเพื่อให้มั่นใจว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับใครที่สนใจอ่านผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (นัดพิเศษ) ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 ฉบับเต็ม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ผลการประชุม กนง 2/2563