Arbitrage คืออะไร?
Arbitrage คือ การทำกำไรในส่วนต่างราคาจากสินทรัพย์บางอย่างจากความแตกต่างของราคาสินทรัพย์ระหว่างตลาด ซึ่งพื้นฐานของการทำ Arbitrage (อาร์บิทราจ) คือการซื้อสินค้าบางอย่างจากตลาดหนึ่งไปขายในอีกตลาดหนึ่งที่ให้ราคาดีกว่า หรือขายสินทรัพย์ด้วยราคาที่ดีกว่าในตลาดหนึ่งแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อสินค้าคืนในตลาดที่ขายในราคาถูกกว่า
การทำกำไรด้วยการ Arbitrage (อาร์บิทราจ) จึงเป็นการทำกำไรระหว่างตลาดจากช่องว่าของตลาด ด้วยการซื้อสินค้าบางอย่างจากตลาดหนึ่งไปขายในอีกตลาดหนึ่งที่ราคาดีกว่า
ดังนั้น การทำ Arbitrage จึงทำได้ต่อเมื่อสินทรัพย์ดังกล่าวมีการซื้อขายอยู่มากกว่า 1 ตลาด และราคาสินทรัพย์ระหว่างตลาดมีราคาที่ต่างกันมากพอที่จะทำกำไรได้ และมากพอที่จะคุ้มค่าเสียเวลาที่จะเข้าไปทำการ Arbitrage
ตัวอย่างเช่น การทำ Arbitrage ทองคำ (Gold) ด้วยการซื้อทองคำจากอีกตลาดหนึ่งไปขายในอีกตลาดหนึ่ง สมมติว่า ซื้อทองคำ 1 บาท ราคา 20,000 บาทจากประเทศไทยไปขายในประเทศออสเตรเลียแล้วขายทองคำได้ในราคา 25,000 บาท
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการอาร์บิทราจ
อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะทำการ Arbitrage ได้กับสินทรัพย์อะไรที่ตลาดใด เนื่องจากการทำ Arbitrage คือเรื่องของการหาช่องโหว่ของตลาด ส่งผลให้ในแต่ละช่วงเวลาสินทรัพย์บางอย่างอาจทำ Arbitrage ในตลาดหนึ่งได้แต่ในอีกช่วงเวลาหนึ่งก็อาจจะทำอีกไม่ได้แล้ว
นอกจากนี้ ช่องว่างของการทำ Arbitrage ซึ่งเป็นตัวที่จะบอกว่ากำไรของการทำ Arbitrage จะมากเท่าไหร่จะน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่อส่วนต่างราคาระหว่างตลาดค่อยลดลงเมื่อมีคนเข้ามาทำ Arbitrage มากขึ้น
กล่าวคือ เมื่อคุณรู้ว่าสินทรัพย์บางอย่างในตลาดบางอย่างสามารถทำ Arbitrage ได้จากการที่มีคนมาบอกว่าทำได้ หมายความว่า ณ เวลานั้นเริ่มที่จะสายไปแล้วสำหรับการทำ Arbitrage สินค้าดังกล่าวในตลาดดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ การ Arbitrage จะเห็นได้บ่อย ๆ ในการเทรด Forex จนหลาย Broker เริ่มรู้ทางและปิดช่องโหว่กันอย่างจริงจัง จนทำให้ การ Arbitrage Forex ทำได้ยากกว่าแต่ก่อนมาก
แต่ในช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มมีการทำ Arbitrage กับ Cryptocurrency มากขึ้นหลังจากช่วงที่ Cryptocurrency ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วไป
ซึ่งสาเหตุที่คนหันไปทำ Arbitrage กับ Cryptocurrency ก็เพราะว่า Cryptocurrency ยังเป็นตลาดที่ใหม่ และแน่นอนว่าอะไรที่ใหม่ก็มีช่องว่างที่สามารถสร้างกำไรให้กับคนที่เห็นช่องว่างอยู่มากมาย
ตัวอย่างการ Arbitrage
วิธีทำ Arbitrage ที่ง่ายที่สุดคือการซื้อสินค้าจากตลาดที่ราคาถูกที่สุดไปขายในตลาดที่แพงกว่า เพื่อที่จะทำความเข้าใจพื้นฐานของการ Arbitrage (อาร์บิทราจ) บทความนี้จะใช้ตัวอย่างของการ Arbitrage ค่าเงิน 3 สกุล คือ บาท (THB) ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และเยน (JPY) และอัตราแลกเปลี่ยนของทั้ง 3 สกุลเงิน ณ ตอนนี้มีดังนี้
1 ดอลลาร์สหรัฐใช้ 31 บาท
1 ดอลลาร์สหรัฐแลกได้ 113 เยน
1 เยน เท่ากับ 0.30 บาท
ขั้นแรก ใช้เงินบาท (THB) ซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) แลก 100 USD ใช้ 3,100 THB
ขั้นต่อมา นำเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่ซื้อมาไปแลกเป็นสกุเยน (JPY) 100 USD จะแลกได้ 11,300 JPY
จากนั้นนำเงินเยน (JPY) ที่ได้มา แลกกลับเป็นเงินบาท (THB) เพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง ดังนั้น 11,300 JPY จะแลกได้ทั้งหมด 3,277 บาท
จากตัวอย่างขั้นตอนของการ Arbitrage คือ ใช้บาทแลกดอลลาร์ > ดอลลาร์และเยน > เยนแลกกลับเป็นบาท ทำให้ได้กำไรจากการ Arbitrage เท่ากับ 3,390 – 3,100 = 290 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมต่างๆ)
การ Arbitrage เริ่มต้นอย่างไร
การทำ Arbitrage ขั้นแรกคือต้องหาช่องว่าของตลาดให้เจอก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่สามารถพบได้ง่ายเพราะการ Arbitrage ไม่ใช่เนื่องใหม่ ทำให้ผู้เสียผลประโยชน์อย่าง Broker มักจะหาทางป้องกันเอาไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถทำ Arbitrage ได้ง่ายที่สุด (และหาช่องว่างได้ง่ายที่สุดในปัจจุบัน) คือตลาดใหม่ที่ยังมีช่องโหว่อยู่มากมายอย่างตลาด Cryptocurrency ที่มีช่องโหว่อยู่มาก (แน่นอนว่ามากกว่าแค่การ Arbitrage)
อย่างไรก็ตาม เมื่อหาเจอแล้วว่าจะ Arbitrage สินทรัพย์อะไรในตลาดไหน ขั้นต่อมาให้ลองคำนวณกำไรเทียบกับต้นทุนว่าท้ายที่สุดคุ้มค่าที่จะ Arbitrage หรือไม่ โดยต้นทุนจากการ Arbitrage ได้แก่
- ค่าธรรมเนียม ที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินทรัพย์นั้น
- ค่าคอมมิชชั่น (Commission) ในกรณีที่ Arbitrage หลักทรัพย์ผ่าน Broker
จากที่อธิบายมาทั้งหมด จะเห็นว่าความเสี่ยงของการ Arbitrage คือ การที่คุณจะต้องเสียเวลาหาช่องว่างให้เจอแล้วเข้าไปทำการ Arbitrage และต้องเป็นช่องว่าที่ใหญ่พอจะทำกำไรได้ ในขณะที่การ Arbitrage ส่วนใหญ่ให้กำไรที่ไม่สูงมากจึงต้องใช้ปริมาณการซื้อขายในปริมาณมาก ๆ เพื่อทำให้กำไรได้มากพอ
นอกจากนี้ การเข้ามา Arbitrage ที่ช้าเกินไปในช่วงที่มีคนเข้ามาทำ Arbitrage ในสินทรัพย์ดังกล่าวมากขึ้น ช่องว่างราคาก็จะลดลงเรื่อย ๆ จนทำกำไรจากส่วนต่างไม่ได้ในท้ายที่สุด