ผู้สอบบัญชี คือใคร?
ผู้สอบบัญชี คือ ผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทที่ต้องมีคุณสมบัติผ่านการทดสอบการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีตามคุณสมบัติของสภาวิชาชีพบัญชี โดยพื้นฐานแล้วเงื่อนไขของ ผู้สอบบัญชี (Auditor) คือผู้ที่ต้องผ่านการทดสอบและมีชั่วโมงการทำงานครบตามที่กำหนด
นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชี (Auditor) ยังรู้จักในอีกชื่อคือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certificated Public Accountant)
สำหรับหน่วยงานที่ดูแลควบคุมผู้สอบบัญชีหรือAuditor จะไม่ได้มีเพียงแค่ด้วยหน่วยงานเดียว แต่จะประกอบด้วย:
- สภาวิชาชีพบัญชี – ควบคุมมาตรฐานการดำเนินงานของผู้สอบบัญชี
- กรมสรรพากร – ควบคุมในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี
- ธนาคารแห่งประเทศไทย – ควบคุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน
หน้าที่ของผู้สอบบัญชี
ในส่วนของหน้าที่หลักของ ผู้สอบบัญชี คือ การตรวจสอบข้อมูลทางการเงินของบริษัทหรือตรวจสอบบัญชีนั่นเอง รวมถึงทำการรายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี เรียกว่า ความเห็นของผู้สอบบัญชี
ความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข
- ความเห็นแบบมีเงื่อนไข
- ไม่แสดงความเห็น
- งบการเงินไม่ถูกต้อง
ความเห็นของผู้สอบบัญชี
ความเห็นของผู้สอบบัญชี จะบ่งบอกถึงความถูกต้องของงบการเงินของบริษัท โดยความเห็นทั้ง 4 มีรายละเอียดดังนี้
ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข (Unqualified Opinion) คือ งบการเงินที่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็นตามหลักบัญชีที่ได้รับการรับรอง
ความเห็นแบบมีเงื่อนไข (Qualified Opinion) คือ ผู้สอบบัญชีพบความไม่ถูกต้องหรือความไม่แน่นอนบางอย่างจากงบการเงิน
ไม่แสดงความเห็น (Disclaimer of Opinion) คือ ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแสดงความเห็นได้ว่างบการเงินถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบบางอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบได้หรือตรวจสอบได้ลำบาก
งบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) คือ การที่ผู้จัดทำบัญชีทำงบการเงินไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการแก้ไขข้อมูลจากผู้ที่จัดทำบัญชี