Breakeven Inflation คืออะไร?
Breakeven Inflation คือ ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในตราสารหนี้ (Nominal Yield) และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ที่ได้รับจากหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อซึ่งมีอายุครบกำหนดเท่ากัน อย่างเช่น พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (TIPS)
โดย Breakeven Inflation เป็นตัวเลขที่ใช้บอกว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation) ในมุมมองของผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และนักลงทุนต่อระดับราคาในอนาคตข้างหน้าจะอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่ง Breakeven Inflation มักใช้เป็นเครื่องมือในการประมาณการว่านักลงทุนสามารถคาดหวังอะไรจากตลาดในอนาคต
เนื่องจากโดยพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ (Inflation-protected Securities) ออกแบบมาให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนเท่าเดิมโดยไม่ต้องกังวลว่าเงินเฟ้อจะทำให้ผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่พันธบัตรทั่วไปไม่ได้ใส่การป้องกันเงินเฟ้อเข้ามา นั่นหมายความว่าแท้จริงพันธบัตรทั้ง 2 แบบผลตอบแทนต่างกันที่ตัวปรับเงินเฟ้อของหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Breakeven Inflation คือ ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในตราสารหนี้ (Nominal Yield) และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ที่ได้รับจากหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อซึ่งมีอายุครบกำหนดเท่ากัน และเป็นเหตุผลให้ Breakeven Inflation เปลี่ยนแปลงไปตามการคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation Expectation) ในอนาคตของนักลงทุน
หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยมากกว่า Breakeven Inflation การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ (Inflation-protected Securities) จะมีประสิทธิภาพดีกว่าหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนแบบอัตราคงที่ (Fixed Rate) ในทางกลับกันหากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่ำกว่า Breakeven Inflation การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแบบอัตราคงที่จะมีประสิทธิภาพดีกว่า
วิธีคำนวณ Breakeven Inflation
Breakeven Inflation สามารถคำนวณได้จากการลบ Nominal Yield ของหลักทรัพย์ประเภท Fixed-Income ด้วย Real Yield ของหลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ (Inflation-protected Securities) อย่างเช่น TIPS (Treasury Inflated Protected Securities)
Breakeven Inflation Rate = Nominal Yield ของ Fixed-Income Security – Real Yield ของ Inflation-Protected Security
ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก 10-year Treasury Yields อยู่ที่ 3% และ 10-year Treasury Inflation-Protected Security Real Yields อยู่ที่ 1%
Breakeven Inflation Rate = 3% – 1% = 1%
สำหรับ Breakeven Inflation ของสหรัฐอเมริกาสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ของ Federal Reserve Bank of St. Louis อย่างเช่น 5-Year Breakeven Inflation Rate และ 10-Year Breakeven Inflation Rate
Breakeven Inflation กับ Inflation Expectation
Inflation Expectation หรือ เงินเฟ้อคาดการณ์ เป็นการคาดการณ์เงินเฟ้อหรือตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตที่เกิดจากความเห็นของผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และนักลงทุนต่อระดับราคาในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ซึ่งมีอยู่ 3 วิธีในการติดตามคาดการณ์เงินเฟ้อหรือ Inflation Expectation ได้แก่ การสำรวจผู้บริโภคและภาคธุรกิจ การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ด้วยโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ และสุดท้ายมาจากการสะท้อนจากตลาดการเงิน
โดยการวัด Inflation Expectation ด้วยการใช้ภาพสะท้อนจากตลาดการเงิน (Market-based Measures) จะเป็นการวัดจาก เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ อย่างเช่นที่ทำในการคำนวณหา Breakeven Inflation
กล่าวคือ Breakeven Inflation ที่คำนวณได้ = Inflation Expectation
หรือในอีกความหมายหนึ่ง Breakeven Inflation คือวิธีหา Inflation Expectation (เงินเฟ้อคาดการณ์ หรือ คาดการณ์เงินเฟ้อ) จากตลาดการเงินรูปแบบหนึ่งนั่นเอง