CSR After Process คือ กิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility) ในรูปแบบที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นกิจกรรม CSR ที่จะเกี่ยวข้องไปถึงผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น คนทั่วไป สังคม หรือสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง CSR After Process ได้แก่ การปลูกป่า การจัดงานวิ่งเพื่อสุขภาพ การรณรงค์บางอย่าง การบริจาคสิ่งของ การบริจาคเงิน และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
อธิบายให้ง่ายกว่านั้น CSR After Process คือ CSR ในแบบที่ทำธุรกิจไปก่อน (ตามปกติ) แล้วนำกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจมาสร้างกิจกรรม CSR After Process เหล่านี้เพื่อตอบแทนและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม
จะเห็นว่า CSR After Process ก็คือเป็นรูปแบบของ CSR (Corporate Social Responsibility) ที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุดและน่าจะเป็นรูปแบบที่หลายคนคุ้นเคยมากที่สุด เมื่อเทียบกับ In Process และ As Process
โดยสาเหตุที่ทำให้ CSR After Process คือวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีสาเหตุมาจากการที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก และไม่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับกิจกรรม CSR อีก 2 ประเภท นอกจากนี้การทำ CSR After Process ด้วยการบริจาคส่วนใหญ่จะสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีของบริษัทได้อีกด้วย
CSR After Process คืออะไร
คำว่า CSR ที่ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง การรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่ง CSR After Process แปลตรงตัว คือ การทำ CSR หลังจากกระบวนการ
โดยคำว่าหลังกระบวนการในที่นี้คือกระบวนการดำเนินงานของบริษัท หรือก็คือดำเนินงานไปตามปกติแล้วค่อยทำ CSR กลับคืนให้กับสังคมภายหลัง ตรงข้ามกับการทำ CSR In Process ที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตั้งแต่การดำเนินงานหรือการผลิต (ได้เงินแล้ว แบ่งส่วนหนึ่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม)
นอกจากนี้ การจะทำ CSR After Process ยังนิยมใช้วิธีการรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในธีมของบริษัทหรือธีมของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
- บริษัทขายเครื่องเขียน ทำกิจกรรมด้วยการบริจาคเครื่องเขียนและทุนการศึกษาให้เด็กที่ด้อยโอกาส
- บริษัทขายอุปกรณ์กีฬา การแจกอุปกรณ์กีฬาให้เด็กที่ไม่มีโอกาส
ตัวอย่าง CSR After Process
การบริจาคเพื่อการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทุนการศึกษาทั้งจำนวน ทุนการศึกษาบางส่วน การบริจาคสิ่งของจำเป็นสำหรับการศึกษานอกจากเงิน อย่างเช่น เครื่องเขียน เครื่องแบบ และอุปกรณ์การศึกษา ไปจนถึงการให้ความรู้ผ่านการติวหรือคอร์สบางอย่าง
บริจาคเงินให้มูลนิธิ แต่ในกรณีที่บริษัทได้ลงทุนจัดตั้งมูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงหากำไรขึ้นมาจะนับว่าเป็น CSR As Process
การจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โครงการปลูกป่า กิจกรรมฟื้นฟูธรรมชาติ
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประสบภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ หรือผู้ประสบภัยที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล
การจัดโครงการเพื่อการกุศลหรือการรณรงค์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น การจัดงานวิ่งเพื่อรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองมากขึ้น
ความเข้าใจผิดจาก CSR After Process
การทำ CSR After Process คือ รูปแบบที่พบได้บ่อยมากจนทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปว่าการทำ CSR สามารถทำได้เพียงเรื่องเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งในขณะที่ความเป็นจริงแล้วสามารถทำ CSR ได้อีก 2 รูปแบบคือ CSR As Process และ CSR In Process
สำหรับใครที่สนใจทำความเข้าใจกับอีก 2 รูปแบบกิจกรรม CSR นอกจากแบบ CSR After Process สามารถอ่านเพิ่มเติมแบบละเอียดได้ที่บทความ: