DE Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ส่วนของเจ้าของกับหนี้สินรวม เพื่อแสดงว่าบริษัทมีหนี้สินรวมเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ
โดย D/E Ratio หรือ Debt to Equity Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์การก่อหนี้ของบริษัทว่าบริษัทก่อหนี้เกินตัวหรือไม่ อีกทั้งยังใช้ในการพิจารณาว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหนในการกู้เงิน
ดังนั้น ค่า DE Ratio หรือ Debt to Equity Ratio จึงควรมีค่าน้อยและควรน้อยกว่า 1 ซึ่งหมายความว่าบริษัทมีภาระหนี้สินอยู่น้อยกว่าทุนของบริษัท ทำให้บริษัทมีโอกาสกู้ได้มากกว่าจากการที่บริษัทมีภาระหนี้สินอยู่น้อย
ในทางกลับกันค่า DE Ratio ที่มากกว่า 1 หมายความว่า บริษัทมีหนี้สินรวมมากกว่าส่วนของเจ้าของ ซึ่งหมายถึงโอกาสที่บริษัทจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้มีอยู่สูง เพราะบริษัทมีหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของหรือเงินทุนของธุรกิจที่มีอยู่
วิธีคำนวณ D/E Ratio
Debt to Equity Ratio หรือ DE Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ ดังนั้น DE Ratio จึงสามารถคำนวณได้จากการนำหนี้สินรวมหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น
Debt to Equity Ratio = หนี้สินรวม ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ตัวอย่างเช่น บริษัท GreedGoods มีหนี้สินรวม 3,000 บาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด 6,000 บาท
Debt to Equity Ratio หรือ D/E Ratio = 3,000 ÷ 6,000 = 0.5 เท่า
หมายความว่าบริษัท GreedGoods มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของหรือ DE Ratio คือ 0.5 เท่า หรือมีหนี้ 0.5 เท่าเมื่อเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท
D/E Ratio บอกอะไร?
ค่า DE Ratio หรือ Debt to Equity Ratio ที่ได้ควรมีค่าน้อยกว่า 1 และยิ่งมีค่าที่น้อยยิ่งดี โดยแต่ละค่าจะมีความหมายดังต่อไปนี้
ค่า DE Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า กิจการมีหนี้สินรวมมากกว่าส่วนของเจ้าของ
ถ้าหากว่าค่า Debt to Equity Ratio มากกว่า 1 โอกาสที่กิจการจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ก็จะสูง และยิ่งมีค่าสูงโอกาสที่ธนาคารจะยอมให้กู้ก็จะยิ่งน้อยลงด้วย เพราะมองว่าบริษัทมีหนี้เยอะอยู่แล้ว โอกาสใช้หนี้ไม่ไหวยิ่งสูงตาม
ค่า DE Ratio น้อยกว่า 1 หมายความว่า กิจการมีหนี้สินรวมน้อยกว่าส่วนของเจ้าของ
ในทางกลับกันยิ่งค่า Debt to Equity Ratio น้อยยิ่งหมายความว่าบริษัทมีภาระหนี้อยู่น้อยเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ และยิ่งทำให้บริษัทมีโอกาสกู้ได้มากกว่า เนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้สินอยู่น้อย
ถ้าค่า DE Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า มีหนี้สินรวมเท่ากับส่วนของเจ้าของ
จะเห็นว่า Debt to Equity Ratio หรือ D/E Ratio เป็นเป็นอัตราส่วนที่มีคล้ายกับ Debt Ratio หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ เพียงแต่เปลี่ยนจากการเทียบกับสินทรัพย์รวมมาเทียบกับส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) แทนนั่นเอง