เงินฝืด คืออะไร?
เงินฝืด คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ จากการที่ผู้บริโภคไม่ต้องการใช้เงินหรือไม่มีเงินใช้ จนทำให้ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการซื้อจนทำให้ผู้ขายจำเป็นต้องลดราคาสินค้าและบริการลงเรื่อยๆ ซึ่งภาวะเงินฝืด (Deflation) คือสิ่งที่จะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในที่สุด
ภาวะเงินฝืด (Deflation) คือสิ่งที่เป็นด้านตรงข้ามของภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) โดยการที่เกิดภาวะเงินฝืดตัวเลขเงินเฟ้อ (Inflation) จะอยู่ในระดับติดลบ
ตัวอย่างเช่น เมื่อ 6 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทสามารถซื้อข้าวได้ 1 จาน แต่ปัจจุบันเงิน 100 บาทสามารถซื้อข้าวได้ถึง 2 จาน จะเห็นว่าภาวะเงินฝืด (Deflation) ส่งผลให้มูลค่าที่แท้จริง
จากตัวอย่างภาวะเงินฝืด ในตัวอย่างจะเห็นว่ามีเงิน 100 บาท เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือการที่ตัวเลขเงินเฟ้อ -50% จะทำให้ เงิน 100 บาทที่ว่ามูลค่าที่แท้จริงจะเป็น ((100/50)*100) = 200 บาท ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงิน 100 บาทเพิ่มขึ้นจนสามารถซื้อสินค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจากเมื่อ 6 ปีที่แล้ว
สาเหตุของเงินฝืด (Deflation) คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคลดลงจากการที่ผู้บริโภคไม่อยากใช้เงิน (หรือไม่มีเงิน) ในขณะที่สินค้ามีจำนวนเท่าเดิม จนส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจน้อยลงและการลดราคาสินค้าของผู้ผลิต ซึ่งนำไปสู่การจ้างงานที่ลดลงตามกำลังการผลิตที่ลดลงและสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจ
ผลกระทบจากเงินฝืด
ผลกระทบจาก ภาวะเงินฝืด (Deflation) คือ การที่เศรษฐกิจชะลอตัวจนทำให้ธุรกิจไม่อยากที่เพิ่มการผลิต และไม่อยากที่จะลงทุนเพิ่มเติมเนื่องจากรายได้ของผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างชัดเจนเพราะผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ
ภาวะเงินฝืดและสาเหตุของเงินฝืดอาจดูเป็นเรื่องที่ดูดีสำหรับผู้บริโภคจากการที่สินค้ามีราคาลดลงจนทำให้กำลังซื้อของเงินจำนวนเท่าเดิมเพิ่มขึ้น แต่เหตุการณ์ทั้งหมดจะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากรายได้ของผู้ผลิตก็จะมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจนทำให้ไม่อยากที่จะลงทุนเพิ่ม (และอาจถึงขั้นต้องลดขนาดของกิจการลง) ซึ่งนำไปสู่การลดการผลิตและการเลิกจ้างงานในท้ายที่สุด
ทั้งหมดก็จะส่งผลกระทบย้อนกลับมาที่กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ว่างงาน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยพื้นฐานของ ภาวะเงินฝืด (Deflation) และสิ่งที่จะเกิดขึ้นมีกลไกดังนี้
- ผู้บริโภคไม่มีความต้องการซื้อหรือไม่มีเงินซื้อ
- ผู้ผลิตเริ่มขายไม่ออกและลดราคาสินค้า
- ผู้ผลิตไม่อยากผลิตเพิ่มและไม่ขยายธุรกิจ
- ไม่มีการจ้างงานเพิ่ม และจากข้อ 3 อาจเกิดการเลิกจ้าง
- เมื่อคนว่างงานหมายความว่าไม่มีกำลังซื้อ
- เมื่อผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อก็จะยิ่งซ้ำเติมข้อ 1 และ 2 ให้รุนแรงยิ่งขึ้น
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะเงินฝืด และ เงินฝืด (Deflation) อีกกลุ่ม คือ ผู้ที่ต้องจ่ายหนี้ในอนาคตเนื่องจากเงินฝืดจะส่งผลให้มูลค่าที่แท้จริงของหนี้เพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก A เป็นหนี้ 100,000 บาท (6 ปีที่แล้วซื้อข้าวในตัวอย่างด้านบนได้ถึง 1,000 จาน) และต้องจ่ายหนี้ในอีก 6 ปีข้างหน้า 100,000 บาท หมายความว่าเงินที่ A จ่ายหนี้ไปเป็นเงินจำนวนที่จะซื้อข้าวได้ถึง 2,000 จาน หรือพูดแบบง่าย ๆ คือในอีก 6 ปีข้างหน้ามูลค่าของหนี้ 100,000 บาทของ A เพิ่มขึ้น 2 เท่าทั้งที่จำนวนเงินยังคงเป็น 1 แสนเท่าเดิม
หน่วยงานที่ดูแลภาวะเงินฝืด
ภาวะเงินฝืด คือ เรื่องเดียวกับเงินเฟ้อตามที่ได้อธิบายไปในตอนต้น ซึ่งเงินเฟ้อเป็นเรื่องของระดับราคาสินค้าและเงินในระบบเศรษฐกิจ หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูและรับมือภาวะเงินเฟ้อแต่ละประเทศจึงเป็นธนาคารกลาง (Central Bank) ของแต่ละประเทศผ่านการเครื่องมือทางการเงินอย่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายและนโยบายทางการเงินอื่นๆ และกระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) ที่จะเข้ามาดูแลด้วยมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมราคาสินค้า
ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) จะสามารถติดตามได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) ของแต่ละประเทศที่มักจะประกาศออกมารายเดือน
โดยตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศไทยจะประกาศทุกเดือน โดยสามารถติดตามประกาศตัวเลขเงินเฟ้อได้จากหลายหน่วยงาน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) และกระทรวงพานิชย์ (Ministry of Commerce)
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก: Clevelandfed, Investopedia, Thebalance