GreedisGoods » Investment » DSR คืออะไร? Debt Service Ratio บอกอะไร

DSR คืออะไร? Debt Service Ratio บอกอะไร

by Kris Piroj
DSR คือ Debt Service Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ DSR Ratio

DSR คืออะไร?

DSR คือ Debt Service Ratio หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงสัดส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือน โดย DSR (Debit Service Ratio) จะเป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงให้เห็นภาระในการชำระหนี้ของครัวเรือน

Debt Service Ratio (DSR) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มักจะนำมาใช้วิเคราะห์ความสามารถในการจ่าหนี้ โดยพิจารณาสัดส่วนรายจ่ายหนี้ของแต่ละบุคคช

สำหรับค่า Debt Service Ratio หรือ DSR คำนวณมาจาก: DSR = ค่าใช้จ่ายในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยต่อเดือน ÷ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

ผลลัพธ์ของค่า DSR เป็นสิ่งที่จะบอกว่าครัวเรือนนั้นมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ่ายหนี้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อเดือนของครัวเรือน โดยค่า DSR ที่ได้สามารถแปลผลได้ ดังนี้:

ตัวเลขของค่า DSR ที่สูง คือ ในแต่ละเดือนครัวเรือนนั้นมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหนี้ที่สูง

ตัวเลขของค่า DSR ที่ต่ำ คือ ในแต่ละเดือนครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหนี้ที่ต่ำ

หน้าที่ของ Debt Service Ratio หรือ DSR คืออะไร

ในประเด็นของการกู้เงิน ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะใช้ค่า DSR เพื่อประเมินว่าผู้กู้มีภาระค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับรายได้

ตัวเลข DSR หรือ Debt Service Ratio ของคุณจะส่งผลต่อ 2 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่

  1. จะยอมให้คุณกู้เงิน หรือ ไม่ยอมให้กู้เงิน
  2. ให้ผ่อนกี่ % ของรายได้ (ในกรณีที่ธนาคารให้กู้)

ซึ่งเพดานของ DSR ที่ธนาคารจะรับได้ก็จะต่างกันไปด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ธนาคารไหน กู้เงินไปทำอะไร และผ่อนนานแค่ไหน เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม เพดานตัวเลข DSR จะอยู่ที่ประมาณ 40% และในบางกรณีการที่คุณมีรายได้สูง เพดานของค่า DSR ของคุณอาจจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

นอกจากนี้ อีกหนึ่งประโยชน์ของตัวเลขในภาพรวมของ DSR (Debt Service Ratio) คือการใช้ในฐานะของตัวเลขในการประเมินภาพรวมของเศรษฐกิจ

โดยค่า DSR ในภาพรวมของกลุ่มประชากรหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น ภาค จังหวัด หรือทั้งประเทศ) จะทำให้เห็นว่ากลุ่มประชากรนั้น ๆ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ่ายหนี้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อเดือน เพื่อใช้ประเมินสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนและความสามารถในการชำระหนี้ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง