Ethnocentric คือ แนวคิดของการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ โดย Ethnocentric คือ การบริหารบริษัทลูกในต่างประเทศ (บริษัทสาขาต่างประเทศ) โดยยึดนโยบายของบริษัทแม่เป็นหลัก ทำให้การดำเนินงานของบริษัทลูกในต่างประเทศจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกับบริษัทแม่เกือบทั้งหมด
ในการบริหารแบบ Ethnocentric หรือ Ethnocentrism สิ่งที่บริษัทสาขาหรือบริษัทลูกมักจะใช้วิธีการดำเนินงานที่เหมือนกับบริษัทแม่ ได้แก่
- โครงสร้างองค์กร และลำดับขั้นในการตัดสินใจภายในองค์กร
- วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทสาขาทั่วโลกจะใช้วัฒนธรรมองค์กรเหมือนกับบริษัทแม่
- ลักษณะของสินค้าและวิธีการผลิตสินค้าจะเหมือนกันทั่วโลก มักจะไม่ปรับสูตรให้เข้ากับท้องถิ่นมากนัก
นอกจากจะมีการดำเนินงานที่เหมือนกันทั่วโลก การบริหารแบบ Ethnocentric มักจะใช้การรวมศูนย์อำนาจในการบริหารเอาไว้ที่บริษัทแม่เป็นหลัก ในลักษณะที่เรียกว่า Centralization โดยจะรวมอำนาจการตัดสินใจ (โดยเฉพาะเรื่องใหญ่) เกือบทุกเรื่องไว้กับบริษัทแม่
ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจในโครงการใหญ่ สูตรการผลิต การวิจัยและการพัฒนาสินค้า เป็นต้น ซึ่งการบริหารแบบ Ethnocentric บริษัทลูกมักจะมีอำนาจตัดสินใจได้เพียงเรื่องเล็กภายในองค์กรเท่านั้น
นอกจากนี้ ในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทที่มีนโยบายแบบ Ethnocentric มักจะส่งผู้บริหารที่คัดเลือกมาจากประเทศของบริษัทแม่ เพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางในบริษัทที่ประเทศสาขา (อาจมาจากในบริษัทแม่หรือหามาจากประเทศแม่ก็ได้)
ซึ่งการใช้พนักงานระดับบริหารจากประเทศแม่ที่ถูกส่งมาจากบริษัทแม่ จะเรียกว่า Expat หรือ Expatriate (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ Expat คืออะไร)
ประโยชน์ของ Ethnocentric
Ethnocentric คือ นโยบายที่มักจะใช้กับบริษัทข้ามชาติที่ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมหรือจำเป็นต้องรักษารูปแบบของบริษัทเอาไว้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยนโยบาย Ethnocentric คือ สิ่งที่ช่วยทำทำให้การบริหารบริษัทลูกทั้งหมดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันง่ายขึ้น
ซึ่งสิ่งที่จะทำให้นโยบายการบริหารธุรกิจข้ามชาติแบบ Ethnocentric เป็นไปอย่างราบรื่นก็จะมาจาก Expatriate ที่ส่งไปบริหารบริษัทลูก ทำให้ประโยชน์หลักของ Ethnocentric ส่วนใหญ่ก็เหมือนกับประโยชน์ของการใช้ Expatriate หรือ Expat ซึ่งได้แก่
ไม่ต้องเสียเวลาอบรมถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรให้กับผู้บริหารบริษัทลูก เนื่องจากเป็นคนจากประเทศแม่หรือจากบริษัทแม่ ทำให้ผู้บริหารคนดังกล่าวรู้วัฒนธรรมองค์กรอยู่แล้วเป็นอย่างดี
สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างถูกต้อง จากการที่ผู้บริหารคนดังกล่าวรู้วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทแม่อยู่แล้ว
การใช้ภาษาเดียวกันสามารถติดต่อสื่อสารกับประเทศแม่ได้ง่าย (บางประเทศพูดอังกฤษได้ก็จริง แต่ภาษาแม่ยังไงก็สะดวกกว่า) เพราะอย่างที่บอกว่า การบริหารแบบ Ethnocentric ในหลายเรื่องบริษัทสาขาในต่างประเทศต้องปรึกษาและรอการตัดสินใจจากบริษัทแม่
สามารถเชื่อใจ Expat ที่ส่งไปได้มากกว่า เพราะเป็นคนที่บริษัทสรรหามาเองจากในประเทศ ทำให้มั่นใจได้มากขึ้นในหลายเรื่อง
เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานของบริษัทแม่ เนื่องจากพนักงานในบริษัทมีโอกาสได้เลื่อนขั้นและถูกส่งไปเป็นผู้บริหารในสาขาต่างประเทศในฐานะ Expatriate ทำให้พนักงานในบริษัทแม่รู้สึกว่าถ้าทำงานในองค์กรต่อไปอย่างตั้งใจจะมีโอกาสก้าวหน้า
กลยุทธ์ข้ามชาติรูปแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: