FCD คืออะไร?
FCD คือ บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) เป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ประเภทที่รับฝากเงินสกุลต่างประเทศ อย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน หยวน ปอนด์ และดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ประโยชน์ที่สำคัญของบัญชี FCD หรือบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ คือ การนำมาใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเหมาะกันผู้ที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การนำเข้า การส่งออก และการลงทุนในต่างประเทศ (โดยเฉพาะผู้นำเข้าที่รับเงินเป็นเงินสกุลต่างประเทศ)
เนื่องจาก สามารถใช้บัญชี FCD เป็นที่พักเงินเอาไว้ได้ในระหว่างในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน โดยไม่จำเป็นต้องแลกเงินที่ได้รับจากการส่งออกเป็นเงินบาททันที หรือสามารถฝากเงินเป็นสกุลต่างประเทศรอไว้ล่วงหน้าได้
นอกจากนี้ ผลพลอยได้ของการฝากเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposits หรือ FCD) คือการที่ผู้ฝากจะได้ดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) ของสกุลเงินนั้น ๆ ซึ่งในบางกรณีในบางสกุลเงินอาจมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินบาท (ทำให้ผู้ฝากได้ดอกเบี้ยมากกว่าดอกเบี้ยในไทย)
ประเภทของบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศ
Foreign Currency Deposit หรือ FCD จะประกอบด้วยบัญชีเงินฝาก 3 แบบอยู่ในบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศเหมือนกันกับบัญชีเงินฝากทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจำ
แต่ในส่วนของประเภทของบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศหรือบัญชี FCD จะแบ่งเป็น 3 ประเภทบัญชี คือ
- บัญชีที่มีรายได้จากต่างประเทศ (SFCD)
- บัญชีที่ไม่มีรายได้จากต่างประเทศแบบแสดงภาระ (DFCD)
- บัญชีที่ไม่มีรายได้จากต่างประเทศแบบไม่แสดงภาระ (DSFCD)
ซึ่งรายละเอียดของประเภทของบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขตามชื่อ
เงื่อนไขการเปิดบัญชี FCD
ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) ให้บริการบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอยู่มากมายหลายธนาคารเพื่อใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง
โดยเงื่อนไขของผู้ที่สามารถเปิดบัญชี FCD หรือบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศจะสามารถทำได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และทำได้กับเกือบทุกธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขทั่วไปที่ไม่ค่อยจะต่างกันมาก (แนะนำใหเดูเงื่อนไขของแต่ละธนาคารประกอบ)
แต่สิ่งที่อาจจะแตกต่างออกไปของบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศของแต่ละธนาคาร ได้แก่
- สกุลเงินที่รับฝากใน บัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศ (บางธนาคารอาจไม่รับเงินบางสกุล)
- จำนวนเงินขั้นต่ำในการ เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศ
- อัตราดอกเบี้ย
- ราคาซื้อ/ขาย ของเงินสกุลต่างประเทศ
- ยอดเงินคงเหลือขั้นต่ำเฉลี่ย
- เงื่อนไขอื่น ๆ
แนะนำให้ศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราระหว่างประเทศกับธนาคาร โดยสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และข้อมูลเปรียบเทียบอื่น ๆ ของเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ที่เว็บไซต์ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
โดยในเว็บไซต์ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินจะสามารถเลือกเปรียบเทียบได้ตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย เงินฝากขั้นต้นในการเปิดบัญชีตามสกุลเงิน ระยะเวลาฝากที่กำหนด ยอดเงินคงเหลือขั้นต่ำเฉลี่ย (สกุลเงินตามสกุลของ FCD) ค่าธรรมเนียมกรณียอดคงเหลือต่ำกว่ากำหนด ไปจนถึงค่าธรรมเนียมกรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว