GreedisGoods » Economics » Fed Fund Rate คืออะไร? ดอกเบี้ยนโยบาย Fed Rate มีไว้ทำไม

Fed Fund Rate คืออะไร? ดอกเบี้ยนโยบาย Fed Rate มีไว้ทำไม

by Kris Piroj
Federal Fund Rate คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ Federal Fund Rate FOMC ดอกเบี้ย สหรัฐ อเมริกา

Fed Fund Rate คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ควบคุมโดยคณะกรรมการ FOMC หรือ Federal Open Market Committee โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate มีหน้าที่เป็นดอกเบี้ยของการกู้เงินข้ามคืนระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ

Fed Fund Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทำงานเหมือนกับดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอื่นๆ ซึ่งธนาคารกลางของสหรัฐเรียกว่า Federal Reserve หรือ Fed จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ถูกเรียกว่า Fed Rate

คณะกรรมการ FOMC คือ ผู้กำหนดกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ หรือ Fed Fund Rate ผ่านการประชุม Federal Open Market Committee (FOMC) หรือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการจัดการประชุมปีละ 8 ครั้ง

ปัจจุบัน Fed Funds Rate อยู่ที่กรอบเป้าหมาย 0-0.25% นับตั้งแต่การประชุม FOMC เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา ที่มีการลดกรอบอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น

ในเชิงนโยบาย Fed Fund Rate คือ เครื่องมือของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ที่ใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ผ่านการควบคุมปริมาณเงินในระบบด้วยการกระตุ้นให้เกิดการลงทุน (ผ่านการลดดอกเบี้ย) หรือชะลอการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ (ผ่านการขึ้นดอกเบี้ย)

ในขณะที่ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) จากอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate คือผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เนื่องจาก Fed Funds Rate ดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ถูกนำไปใช้อ้างอิงในทุกอัตราดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล

Fed Fund Rate ทำงานอย่างไร

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Policy Rate คือเครื่องมือใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา และใช้ชะลอเศรษฐกิจที่โตเร็วเกินไป โดยการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือจัดการเศรษฐกิจสามารถทำได้ ดังนี้

  1. การปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลดความเร็วของเศรษฐกิจ
  2. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  3. การคงอัตราดอกเบี้นนโยบาย ในขณะที่เศรษฐกิจไม่ต้องการการขึ้นหรือลดดอกเบี้ยนโยบาย
Fed Fund Rate คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ Federal Fund Rate ดอกเบี้ย Fed Rate
Fed Fund Rate หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 จนถึงปัจจุบัน

ในการประชุมคณะกรรมการ FOMC ของ Fed ที่จัดขึ้นปีละ 8 ครั้ง คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee) จะพิจารณามุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะนั้นเพื่อตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ย หรือคงดอกเบี้ย ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของสหรัฐฯ

การขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate คือ เครื่องมือในการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตอย่างรวดเร็วเกินไป จะส่งผลให้มีแนวโน้มที่ธุรกิจและประชาชนต่างกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนเพราะเชื่อว่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับยังไงก็สูงกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อ (Inflation) สูงเกินไป Fed ก็จะลดดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของการลงทุนในระบบเศษฐกิจ

การลดดอกเบี้ย Fed Fund Rate คือ เครื่องมือในการกระตุ้นการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซาที่ทุกคนต่างไม่อยากลงทุนหรือไม่อยากจับจ่ายใช้สอย การที่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยให้ต้นทุนในการกู้ยืมลดลงตาม ช่วยให้ประชาชนกล้ากู้ยืมเงินไปลงทุนในธุรกิจมากขึ้นซึ่งการจ้างงานก็จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อมีการขยับขยายธุรกิจ

ความสำคัญของ Fed Fund Rate คือ เป็นสิ่งที่ใช้ในการสะท้อนมุมมองของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดำเนินนโยบายการเงินในทิศทางไหน จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ หรือจะลดปริมาณเงินในระบบเพื่อชะลอเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Fed Fund Rate มีการเปลี่ยนแปลงมักจะนำไปสู่การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนของนักลงทุน

ดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ทำงานอย่างไร

สมมติว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเศรษฐกิจโตเร็วมาก (ในระดับที่มากเกินไป) ทำให้ใคร ๆ ต่างก็กู้เงินมาทำธุรกิจหรือขยายธุรกิจ เพราะเชื่อว่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับยังไงก็สูงกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย (เพราะดอกเบี้ยถูก) สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อ ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย มีดังนี้

  1. ธนาคารขึ้นดอกเบี้ย
  2. ต้นทุนในการกู้ยืมของธนาคารเพิ่มขึ้น
  3. ธนาคารก็ต้องหาเงินมาทดแทน ในส่วนที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น
  4. ธนาคารขึ้นดอกเบี้ย (ด้วยเหตุผลในข้อ 3)
  5. ต้นทุนในการกู้ยืมของธุรกิจสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น (ดอกเบี้ยของคนทั่วไปก็สูงขึ้นเช่นกัน)
  6. ธุรกิจกู้ธนาคารน้อยลง หรือ เพิ่มราคาสินค้า/บริการ
  7. กำลังซื้อลดลง (จากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น) การใช้จ่ายลดลง
  8. เมื่อการใช้จ่ายลดลง การผลิตและการขยายกิจการก็ลดลงตาม (รวมถึงการขยายธุรกิจ ที่ต้องพึ่งการกู้เงินก็จะลดลง)

สำหรับกรณีกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะเป็นกรณีที่ตรงข้ามกับด้านบน เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง ต้นทุนในการกู้ยืมก็จะต่ำลง ในทางทฤษฎีแล้วการลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการทำให้นักลงทุนกล้ากู้ยืมเงินไปขยับขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งก็จะเกิดการจ้างงานตามมา เมื่อมีการจ้างงานคนก็มีเงินใช้ ก็จะเกิดการจับจ่ายใช้สอย ในท้ายที่สุดเงินในระบบเศรษฐกิจก็จะเพิ่มมากขึ้น

การปรับลดหรือปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะประกาศออกมาจากการประชุมของ Fed ทุกๆ ไตรมาส (ประชุมเดือน 3 6 9 และ 12) หรือว Fed สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดปีละ 4 ครั้งนั่นเอง

กำหนดการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ในการกำหนด Federal Fund Rate ทั้ง 8 ครั้งของทุกปีสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ธนาคารกลางสหรัฐ federalreserve.gov

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด