GreedisGoods » Marketing » Gen Alpha คือใคร? เข้าใจพื้นฐาน Generation Alpha

Gen Alpha คือใคร? เข้าใจพื้นฐาน Generation Alpha

by Kris Piroj
Gen Alpha คือ ใคร Generation Alpha คือ เจเนอเรชันอัลฟ่า คือ พฤติกรรม

Gen Alpha คือใคร?

Gen Alpha คือ กลุ่มประชากรที่เกิดในช่วงปี 2010s จนถึงช่วงท้ายของปี 2020s เป็นการการแบ่งกลุ่มประชากรตามหลักประชากรศาสตร์ (Demography) ด้วยการใช้ช่วงปีที่เกิดเช่นเดียวกันกับ Generation อื่น ๆ โดย Gen Alpha เป็น Generation ที่เด็กที่สุดในปัจจุบันแทนที่ Gen Z

ที่มาของชื่อ Gen Alpha มาจาก Alpha หรือ α ที่เป็นตัวอักษรตัวแรกของกรีก ที่แสดงถึงจุดเริ่มต้น เนื่องจาก หลายคนเชื่อว่า Gen Alpha เป็นจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะ Gen Alpha เหล่านี้โตมาด้วยเงื่อนไข (Conditions) ที่ต่างจาก Generation ก่อน ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่ายุคของ Gen Y และ Gen Z ที่ผ่านมา

คำว่า Generation Alpha หรือ Gen Alpha ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Mark McCrindle เจ้าของ McCrindle Research บริษัทที่ปรึกษาจากออสเตรเลีย ซึ่งเกิดขึ้นจากการสำรวจในปี 2008 ที่ทำการสำรวจว่าควรให้ Generation ต่อไปชื่อว่าอะไร และพบว่า Generation A คือคำที่ได้รับความสนใจมากที่สุด

โดยปัจจุบัน (และในอนาคต) Gen Alpha เป็นกลุ่มที่เป็นลูกของ Gen Y และ Gen Z และมีบางส่วนที่เป็นลูกของ Gen X ซึ่งปัจจุบัน Gen Alpha ยังเป็น Generation ที่มีอายุในช่วงวัยเรียน และจะกลายเป็นวัยทำงานที่เป็นกำลังซื้อรุ่นต่อไปในอนาคตเหมือนกับ Gen Z จึงเป็นเหตุให้นักการตลาดบางส่วนเริ่มให้ความสนใจกับ Gen Alpha

กล่าวคือ “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” จึงเป็นเหตุให้นักการตลาดเริ่มให้ความสนใจกับ Gen Alpha มากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะศึกษาพื้นฐานพฤติกรรมขอม Gen Alpha หาก Gen Alpha จะกลายเป็นลูกค้าหรือลูกค้าหลักของธุรกิจในอนาคต ตลอดการสร้าง Brand Awareness ให้อยู่ในใจของผู้บริโภคตั้งแต่จำความได้

ลักษณะเฉพาะของ Generation Alpha

Generation Alpha หรือ Gen Alpha คือผู้ที่เกิดขึ้นมาในยุคที่การเข้าถึงและการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นเหตุผลที่ Gen Alpha เป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี ข่าวสาร และเนื้อหาอื่น ๆ บนอินเตอร์เน็ตได้มากที่สุดและเร็วที่สุดหากเทียบกับ Generation อื่น ๆ แม้กระทั่ง Generation Z ก็ตาม

ดังนั้นแล้ว Gen Alpha จึงเป็นเด็กในรุ่นที่โตมากับเทคโนโลยีและความสะดวกสบายอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีความพร้อมมากกว่าคนในกลุ่ม Gen Y กับ Gen Z พอสมควร โดย Gen Y กับ Gen Z อาจจะมีบ้างที่ยังกึ่ง Analog อยู่ เราจึงยังสามารถพบเห็น Gen Y และ Gen Z ยังพูดถึงเรื่องความคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ ในยุค 90s อยู่บ้าง ซึ่งบางครั้งคนเหล่านั้นไม่ได้โกหกหรือเข้าใจผิดเสียทีเดียว แต่เป็นเพราะในวัยเด็กของ Gen Y และ Gen Z บางสิ่งที่ยังเป็น Analog ก็อาจจะยังไม่ได้ถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ Gen Alpha ยังเป็นที่รู้จักกันว่ามีความหลากหลายมากกว่า Generation ก่อน ๆ เนื่องจาก Gen Alpha มีแนวโน้มที่จะเกิดจากพ่อแม่ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน และการเสพสื่อที่มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกจากผลของอินเตอร์เน็ตและโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งทำให้มีแนวโน้มอย่างมากที่จะมาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องที่ไม่แปลกเลยหาก Gen Alpha สามารถพูดได้มากกว่า 2 หรือ 3 ภาษา และปรับตัวเข้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความหลากหลายได้มากกว่า

พฤติกรรมของ Gen Alpha

Internet เป็นที่พึ่งของ Gen Alpha การที่ Gen Alpha โตมากับเทคโนโลยี เป็นเรื่องปกติที่จะมองเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือปกติในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือพฤติกรรมการใช้ Google ค้นหาสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งที่อยากรู้ด้วยตัวเอง รือการค้นหาเรื่องที่สนใจใน YouTube แทนที่จะถาม

คุ้นเคยกับความเปลี่ยนแปลงและความหลากหลาย เหตุผลหนึ่งคือสิ่งที่ได้อธิบายในหัวข้อ “ลักษณะเฉพาะของ Generation Alpha” แต่หากพิจารณาเพียงแค่ปีที่ Gen Alpha เกิดมาและใช้ชีวิตในวัยเด็ก เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างเร็วแค่ไหนหากเทียบกับใน Generation ก่อน ๆ ทั้งนี้ เด็กที่โตมากับความเปลี่ยนแปลงและเห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติอาจนำไปสู่การได้ Brand Loyalty ที่ยากขึ้นจาก Gen Alpha เนื่องจากพวกเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนไปหาสิ่งที่ดีกว่าหรือสิ่งที่พอใจได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าอนาคตของ Generation Alpha จะเป็นอย่างไรต่อไป เนื่องจาก Gen Alpha ยังเด็ก จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเห็นว่าพวกเขาตอบสนองต่อความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวโน้มพฤติกรรมในอนาคตของ Gen Alpha

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก: Understanding Generation Alpha โดย McCrindle

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด