GreedisGoods » Business » Grand Strategy Matrix คืออะไร? ในการจัดการเชิงกลยุทธ์

Grand Strategy Matrix คืออะไร? ในการจัดการเชิงกลยุทธ์

by Kris Piroj
Grand Strategy Matrix คือ เครื่องมือเลือกใช้กลยุทธ์ระดับองค์กร

Grand Strategy Matrix คืออะไร?

Grand Strategy Matrix คือ กราฟเปรียบเทียบระหว่าง 2 ปัจจัย ได้แก่ อัตราการเติบโตของตลาด กับ ความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ประโยชน์ของ Grand Strategy Matrix หรือ Grand Matrix คือใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกใช้กลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมกับองค์กร

โดย Grand Strategy Matrix จะแบ่งออกเป็น 4 กรณี ตามกราฟ Grand Strategy Matrix ด้านล่าง

Grand Strategy Matrix คือ
Grand Strategy Matrix

การเลือกกลยุทธ์จาก Grand Strategy Matrix

Quarter 1 คือ กรณีที่ตลาดมีอัตราการเติบโตที่สูง ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจก็สูง (ดีทั้ง 2 ด้าน)

กลยุทธ์ที่จะใช้ในกรณีนี้จะเป็น กลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) ที่เหมาะกับสภาพของแต่ละองค์กร ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตจะประกอบด้วย

Market Penetration การเติบโตด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดภายในตลาดเดิม เช่น การทำให้ลูกค้าใช้สินค้ามากขึ้น

Product Development การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังขายอยู่ในตลาดเดิม

Market Development การขยายตลาดด้วยสินค้าเดิม

Diversification การขยายสู่ธุรกิจใหม่ในตลาดใหม่ แบ่งออกเป็น 2 แบบได้แก่ Concentric Diversification ที่จะขยายเข้าไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และ Conglomerate Diversification ที่จะขยายไปสู่ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิม

Horizontal Growth การเติบโตด้วยการขยายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้วยการ Merger Acquisition หรือ Take Over

Vertical Growth การเติบโตด้วยการขยายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของธุรกิจเดิม


Quarter 2 คือ กรณีที่ตลาดมีอัตราการเติบโตที่สูง ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจต่ำ

สำหรับกรณีนี้จะใช้ได้ทั้ง กลยุทธ์ในการเติบโต (Growth Strategy) และกลยุทธ์แบบหดตัว (Retrenchment) ขึ้นอยู่กับสภาพภายในของบริษัท

ใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ใน Quarter 1 และ Quarter 3


Quarter 3 คือ กรณีที่ตลาดมีอัตราการเติบโตที่ต่ำ ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจก็ต่ำ (แย่ทั้ง 2 ด้าน)

กลยุทธ์ที่จะใช้กับสถานะการณ์นี้จะเป็น กลยุทธ์แบบหดตัว (Retrenchment) ได้แก่

  • Turnaround Strategy การลดขนาดองค์กรเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรใหม่
  • Divestment Strategy การลดการลงทุนในสิ่งที่ไม่ทำกำไร (หรือเลิกลงทุน)
  • Bankruptcy หรือ Liquidation Strategy การเลิกกิจการ อาจจะเลิกทั้งกิจการ หรือเลิกแค่ในส่วนที่ไม่ทำกำไร

Quarter 4 คือ กรณีที่ตลาดมีอัตราการเติบโตที่ต่ำ ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสูง

เป็นกรณีที่บริษัทมีความสามารถสูงแต่สภาพของตลาดไม่ดีเท่าไหร่ กลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีกับกรณีนี้จะมีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ประกอบด้วย

  • Joint Venture การร่วมทุนกับอีกบริษัท เพื่อจัดตั้งกิจการร่วมค้า
  • Concentric Diversification พัฒนาสินค้าใหม่เพื่อขยายเข้าไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • Conglomerate Diversification พัฒนาสินค้าใหม่ขยายไปสู่ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิม
  • Horizontal Growth การเติบโตด้วยการขยายไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้วยการ Merger Acquisition หรือ Take Over

จะเห็นว่าทั้งหมดเป็นกลยุทธ์ในการขยายการลงทุน แต่จะไม่ลงทุนเต็มตัว เพราะมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน เนื่องจากตลาดอยู่ในสภาพซบเซา

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด