GreedisGoods » Economics » Inflation Expectation คืออะไร? การคาดการณ์เงินเฟ้อมีที่มาอย่างไร

Inflation Expectation คืออะไร? การคาดการณ์เงินเฟ้อมีที่มาอย่างไร

by Kris Piroj
Inflation Expectation คือ คาดการณ์เงินเฟ้อ คือ ที่มา อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์

Inflation Expectation คืออะไร?

Inflation Expectation คือ การคาดการณ์เงินเฟ้อ เป็นอัตราเงินเฟ้อที่รวบรวมจากควาดเห็นของผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และนักลงทุนต่อระดับราคาของสินค้าและบริการในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (โดยปกติคืออัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ใน 1 ปีข้างหน้า)

เมื่อ Inflation Expectation (การคาดการณ์เงินเฟ้อ) คือสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่า “เงินเฟ้อจะเป็นในอนาคต” ความคาดหวังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเหล่านี้จึงมีความสำคัญเนื่องจากมันจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันในการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้า ลงทุนหรือไม่ลงทุน ขยายหรือไม่ขยายกิจการ

กล่าวคือ เมื่ออดีตส่งผลต่อสิ่งที่ทำในปัจจุบันอย่างไร ความคาดหวังเกี่ยวกับอนาคตก็อาจส่งผลต่อสิ่งที่กำลังทำในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

Inflation Expectation สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลและธุรกิจได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น นาย A เป็นชาวอเมริกันในช่วงเวลาปกติ เมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ตามเป้าหมายของ Fed นาย A ยินดีที่จะรอ 1 ปีเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ของเขา เพราะนาย A เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับปกติย่อมไม่ทำให้ราคาบ้านที่จะซื้อเพิ่มขึ้นมากนักในระยะเวลาเพียง 1 ปี

แต่ถ้าหากนาย A สังเกตเห็นว่าราคาบ้านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่เขากำลังติดตามราคาบ้าน นาย A อาจจะต้องคิดอีกครั้งว่าจะรีบซื้อบ้านตอนนี้ในขณะที่เงินเฟ้อกำลังต่ำอยู่ดีกว่าหรือไม่ แทนที่จะปล่อยให้ราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จะเห็นว่าเมื่อระดับ Inflation Expectation สูง หรือการที่มุมมองต่อเงินเฟ้อในอนาคตจะสูง จะทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายในอนาคต ลดการขยายกิจการเนื่องจากเงินกู้มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และลดการลงทุนในระยะยาสลงเพื่อป้องกันการเสื่อมค่าของกำลังซื้อ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจช้าลง

ในทางกลับกันเมื่อ Inflation Expectation ต่ำ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะอยากใช้เงิน กู้เงิน หรือลงทุนในระยะยาวมากกว่า เนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อกำลังซื้อ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และเงินต้นที่ลดลงในอนาคต

คาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation Expectation) บอกอะไร

Inflation Expectation เป็นข้อมูลที่ใช้ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เนื่องจาก Inflation Expectation หรือการคาดการณ์เงินเฟ้อเป็นตัวเลขจากความเชื่อและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการสำรวจไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน ธุรกิจ และนักลงทุนเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคต จึงทำให้ Inflation Expectation มักส่งผลต่อแนวโน้มเหล่านี้:

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในอนาคต: Inflation Expectation สามารถบ่งชี้ทิศทางและระดับของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต กล่าวคือ ถ้าหากมุมมองส่วนใหญ่เชือว่า Inflation Expectation สูง อาจเป็นสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต

แนวโน้มของนโยบายการเงิน (Monetary Policy): Inflation Expectation มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลาง หาก Inflation Expectation หรือการคาดการณ์เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง ธนาคารกลางอาจจำที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ อย่างเช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

แนวโน้มการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน: เนื่องจากนักลงทุนจำเป็นที่จะต้องปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ เมื่อ Inflation Expectation สูง ก็แนวโน้มที่นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูง

การกำหนดค่าจ้าง: Inflation Expectation มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกำหนดค่าจ้างโดยนายจ้างและลูกจ้าง หากลูกจ้างคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น พวกเขาอาจเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อรักษากำลังซื้อของพวกเขาเอาไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า Wage-Price Spiral (เกลียวราคาค่าจ้าง)

Inflation Expectation มาจากไหน

เมื่อ Inflation Expectation คือการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต จึงมีอยู่ 3 วิธีในการติดตามคาดการณ์เงินเฟ้อ ได้แก่

  • การสำรวจผู้บริโภคและธุรกิจ อย่างเช่น The University of Michigan’s Survey Research Center ที่เก็บข้อมูลจากประมาณ 600 ครัวเรือนในแต่ละเดือน ว่าผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใดในปีหน้าและในอีก 5-10 ปีข้างหน้า, การสำรวจแบบเดียวกันของ Federal Reserve Bank of New York, และ Conference Board เป็นต้น
  • การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
  • เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ อย่างเช่น TIPS (Treasury Inflated Protected Securities) โดยวิธีนี้อาจเรียกว่า Market-based Measures

บทความที่เกี่ยวข้อง