Leverage Ratio คือ อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจว่าใช้เงินทุนจากการก่อหนี้ในสัดส่วนเท่าไหร่ เพื่อวัดความสามารถในการชำระหนี้สินของธุรกิจเมื่อเทียบกับทรัพย์สิน เงินลงทุนของนักลงทุน และรายได้
นอกจากนี้ Leverage Ratio ยังใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินของธุรกิจเองแล้ว ตัวเลข Leverage Ratio หรืออัตราส่วนโครงสร้างทางการเงินยังมีประโยชน์กับผู้ปล่อยกู้ในการพิจารณาความสามารถในการจ่ายหนี้จากภาระหนี้สินที่ธุรกิจมีอยู่ได้ด้วยเช่นกัน
โดย Leverage Ratio จะเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวกับต้นทุนของบริษัทที่มาจากการก่อนหนี้ ซึ่งจะมีอยู่ 3 อัตราส่วนที่สำคัญ คือ
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) = หนี้สินรวม ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น
- อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) = หนี้สินรวม ÷ สินทรัพย์รวม
- อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ÷ ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) เป็นการวัดว่าธุรกิจมีหนี้กี่เท่าเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ สามารถคำนวณได้จาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) = หนี้สินรวม ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) ที่ได้ควรจะออกมาน้อย โดยผลลัพธ์มี 3 กรณี ดังนี้
- ถ้า Debt to Equity Ratio มากกว่า 1 หมายความว่ามีหนี้มากกว่าส่วนของเจ้าของ
- ถ้า Debt to Equity Ratio น้อยกว่า 1 หมายความว่ามีหนี้น้อยกว่าส่วนของเจ้าของ
- ถ้า Debt to Equity Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า มีหนี้เท่ากับส่วนของเจ้าของ
นอกจากนี้ การที่ Debt to Equity Ratio มากกว่า 1 ยังมีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ เพราะกิจการมีหนี้มากกว่าส่วนของเจ้าของ และโอกาสที่ธนาคารจะยอมให้กู้ก็จะน้อยลงด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio)
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) คือ การเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการเทียบกับเงินที่กู้มา (คล้ายกับ Debt to Equity Ratio และมีผลกับการกู้เงินเช่นกัน) ซึ่งจะสามารถคำนวณได้โดย
อัตราส่วนหนี้สิน ต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) = หนี้สินรวม ÷ สินทรัพย์รวม
ผลลัพธ์ของอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) ที่ได้ควรจะออกมาน้อย โดยค่าที่ได้มีความหมายดังนี้
- ค่า Debt Ratio มาก หมายถึง สินทรัพย์ส่วนใหญ่กู้มา
- ค่า Debt Ratio น้อย หมายถึง สินทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากเงินลงทุนเจ้าของเจ้าของกิจการ
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) คือ ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยตามชื่อ เป็นอัตราส่วนว่ามีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย โดยจะสามารถคำนวณได้จาก
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ÷ ดอกเบี้ยจ่าย
โดยผลลัพธ์ของอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ที่ได้ควรมีค่ามากกว่า 1 โดยค่าที่ได้มีความหมายดังนี้
- ถ้า Interest Coverage Ratio มากกว่า 1 หมายความว่ากำไรมากพอจะจ่ายดอกเบี้ย
- แต่ถ้าหาก Interest Coverage Ratio น้อยกว่า 1หมายความว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายมากกว่ารายได้