Mass Production คือ การผลิตสินค้าครั้งละมาก ๆ เพื่อใช้ข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยที่ต่ำกว่าการผลิต เนื่องจากการผลิตแบบ Mass Production คือการผลิตครั้งละมาก ๆ ทำให้จำนวนตัวหารต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) สูงตาม ส่งผลให้เมื่อมีการผลิตสินค้ามากขึ้นจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงจากต้นทุนคงที่ที่ลดลง
การผลิตแบบ Mass Production จะเหมาะกับสินค้าที่มีลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมากหรือเป็นสินค้าที่มีความต้องการสินค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะสามารถรองรับสินค้าของเราที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากจำเป็นเน้นขายให้ได้มากๆ เพราะสินค้าในลักษณะ Mass Production มักจะเป็นสินค้าที่ไม่เน้นกำไรต่อหน่วย
สมมติว่า บริษัทผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง มีต้นทุนส่วนประกอบชิ้นละ 30 บาท และมีต้นทุนค่าเช่าโรงงาน (Fixed Cost) เดือนละ 10,000 บาท
ถ้าบริษัทดังกล่าวผลิตสินค้าได้ 1,000 ชิ้น ต้นทุนเฉลี่ยของสินค้าที่ผลิตในเดือนนั้น จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
ต้นทุนส่วนประกอบ 1,000 ชิ้น x 30 บาท = 30,000 บาท และรวมกับค่าเช่าโรงงาน 10,000 บาท จะได้เป็น 40,000 บาท
นำต้นทุนทั้งหมด 40,000 บาทมาหาต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยก็จะได้ชิ้นละ 40 บาท
แต่ถ้าบริษัทดังกล่าวผลิตเดือนละ 2,000 ชิ้น?
2,000 ชิ้น x 30 บาท = 60,000 บาท รวมกับค่าเช่าโรงงาน 10,000 บาทต่อเดือน รวมเป็น 70,000 บาท
นำต้นทุนทั้งหมด 70,000 บาท มาหา ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย จะอยู่ที่ ชิ้นละ 35 บาทเท่านั้น
จะเห็นว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของสินค้าดังกล่าวลดลงเมื่อผลิตสินค้ามากขึ้นจาก 1,000 ชิ้นเป็น 2,000 ชิ้น
ซึ่งเราจะเรียกการผลิตที่ทำให้ต้นทุนลดลงเมื่อการผลิตแบบ Mass Production ในลักษณะนี้ว่า Economies of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด
อ่านเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Economies of Scale (EOS) ได้ในบทความ Economies of Scale คือะไร?
ข้อเสียของการผลิตแบบ Mass Production
ข้อเสียของการผลิตแบบ Mass Production คือ การที่ต้องผลิตสินค้าครั้งละจำนวนมากทำให้มีภาระในการจัดเก็บสินค้า และมีโอกาสที่สินค้าจะกลายเป็นสินค้าตกรุ่นที่ขายไม่ออก
ซึ่งการขายสินค้าไม่ออกจะทำให้เงินที่ลงทุนไปกับการผลิตสินค้าเหล่านี้กลายเป็นต้นทุนจม (Sunk Cost) จากการที่ขายสินค้าไม่ออก หรือในกรณีที่ต้องขายจริงๆ ก็ต้องยอมขายขาดทุน