ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด คืออะไร?
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด คือ ตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมากที่ขายสินค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันในระดับที่สามารถสามารถใช้ทดแทนกันได้ ทำให้ผู้ขายสามารถใช้ความแตกต่างของสินค้าในการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าผู้แข่งขันอื่นในตลาดได้
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นลักษณะของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ที่ใกล้เคียงโลกแห่งความเป็นจริงมากกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) เนื่องจากในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จำเป็นที่จะต้องเป็นสินค้าที่เหมือนกันทุกประการ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในโลกความเป็นจริง
เพราะสุดท้ายสินค้าแบบเดียวกันในโลกความเป็นจริงจะมีความแตกต่างกันอยู่ไม่มากก็น้อยเสมอ ตัวอย่างเช่น ยางรถยนต์แม้ว่าจะเป็นยางรถยนต์เกรดเดียวกัน แต่เมื่อผู้ผลิตหรือผู้ขายต่างกันก็จะมีเรื่องเล็กน้อยที่แตกต่างกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งาน บริการหลังการขาย หรือแม้กระทั่งชื่อเสียงของแบรนด์
ด้วยความแตกต่างของสินค้าดังกล่าวจะทำให้ผู้ขายในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) มีอำนาจเหนือตลาด (เล็กน้อย) ในการราคาสินค้าสูงกว่าสินค้าแบบเดียวกันได้ในระดับหนึ่งแม้ไม่มากเท่ากับผู้ขายที่อยู่ในตลาดผูกขาด ต่างจากตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) ที่สินค้ามีราคาเท่ากันทั้งตลาด
สำหรับสินค้าประเภทที่อยู่ในตลาดประเภทตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดคือสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า ร้านอาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เป็นต้น
ลักษณะของสินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) คือโครงสร้างตลาดที่รวมองค์ประกอบของตลาดแบบผูกขาด (Monopoly) และตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) เข้าไว้ด้วยกัน โดยลักษณะสำคัญของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ได้แก่:
มีผู้ขายหรือผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก มีบริษัทมากมายในตลาด แม้ว่าอาจจะไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ก็ตาม
สินค้ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ทำให้ผู้ขายมีอำนาจในการตั้งราคาเหนือตลาดในระดับที่จำกัด เนื่องจากผู้ซื้อสามารถหนีไปใช้สินค้าทดแทนได้เมื่อสินค้าที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันราคาสูงไม่สมเหตุสมผลเกินไป
ผู้ขายสามารถเข้าและออกตลาดได้อย่างเสรี เป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดจากการถูกกำไรที่สูงดึงดูด และสำหรับบริษัทที่มีอยู่แล้วที่จะออกจากตลาดเมื่อขาดทุน
การแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา บริษัทต่างแข่งขันกันที่ปัจจัยอื่นนอกเหนือจากราคา อย่างเช่น การโฆษณา การสร้างแบรนด์ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ความไม่เท่ากันของข้อมูลของแต่ละฝ่าย (ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์) ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับตลาด ซึ่งทำให้ยากสำหรับในการตัดสินใจอย่างรอบคอบในการซื้อและการขาย
อำนาจของผู้ขายเมื่อเทียบกับตลาดอื่น
เนื่องจากในระยะสั้นผู้ขายจะมีอำนาจต่อตลาดจนกว่าจะเผชิญกับการแข่งขันจากบริษัทอื่นที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันแต่มีความแตกต่างบางอย่าง ในตลาดที่มีการแข่งขันแบบผูกขาดบริษัทจึงสามารถตั้งราคาให้สูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มในระยะสั้น
ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจำเป็นที่จะต้องคิดค้นและสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดและสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องต่อไป
ทั้งหมดทำให้ราคาสินค้าในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าสินค้าที่ขายอยู่ในตลาดประเภทตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) แต่ก็ยังคงมีราคาต่ำกว่าราคาสินค้าที่ขายอยู่ในตลาดผูกขาด (Monopoly)